วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

โปรดฟังอีกครั้งในรอบ 75 ปี เมื่อ ‘ลูกพระยาพหลฯ’ อ่านประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 จาก ประชาไท

เวทีเสวนา เบื้องหลังการอภิวัฒน์ 24 มิ.ย. 2475’

ประชาไท – 25 มิ.ย. 50 เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, สโมสร 19 และบริษัท ชนนิยม จำกัด จัดงานเสวนาประวัติศาสตร์รำลึก 75 ปี ประชาธิปไตย ‘เบื้องหลังการอภิวัฒน์ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475’ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร โดยก่อนจะเริ่มการเสวนาได้กล่าวไว้อาลัยและสงบนิ่งถึงการจากไปของท่านผู้หญิงพูนสุข พนมยงค์ ภรรยานายปรีดี พนมยงค์ แกนนำคณะราษฎรคนสำคัญ

นอกจากนี้ เนื่องในโอกาสที่การอภิวัฒน์ พ.ศ. 2475 ครบรอบ 75 ปี พ.ต.พุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา ได้อ่านแถลงการณ์คณะราษฎร ฉบับที่ 1 (ตามล้อมกรอบ) ย้อนรอยเส้นทางที่ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา บิดาซึ่งเป็นผู้นำคณะราษฎรที่เคยประกาศไว้ต่อหน้าบรรดาทหารและผู้ร่วมอุดมการณ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า เนื้อหาสำคัญของประกาศดังกล่าว คือ หลัก 6 ประการ ที่แสดงถึงความเป็นประชาธิปไตยที่ก้าวพ้นจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

นายศุขปรีดา พนมยงค์

เมื่อการเสวนาเริ่มต้น นายศุขปรีดา พนมยงค์ ทายาท นายปรีดี พนมยงค์ เล่าถึงที่มาของการอภิวัฒน์ใน พ.ศ. 2475 ว่า แรงบันดาลใจของคณะราษฎรมาจากเหตุการณ์ ร.ศ. 130 ซึ่งมีทหารหนุ่มกลุ่มหนึ่งต้องการประชาธิปไตย แต่บังเอิญเกิดมีผู้กลับใจไปเข้าข้างผู้มีอำนาจจึงไม่สำเร็จ อย่างไรก็ตาม ทางคณะราษฎรก็มีความรู้สึกถึงผู้ก่อการใน ร.ศ. 130 ว่าเป็นรุ่นพี่


ขณะนั้น นายปรีดี ศึกษาอยู่ในประเทศฝรั่งเศสเห็นว่าคนยังได้รับความทุกข์ยาก ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมา พ.ศ.
2468 – 69 จึงคิดเริ่มต้นกันที่เมืองปารีสโดยเริ่มแรกมี 7 คน (ประกอบด้วย ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี นายทหารกองหนุน อดีตผู้บังคับหมวดทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์รัชกาลที่ 6 ร.ท. แปลก ขีตตะสังคะ นักศึกษาในโรงเรียนนายทหารปืนใหญ่ฝรั่งเศส ร.ต. ทัศนัย มิตรภักดี นักศึกษาในโรงเรียนนายทหารม้าฝรั่งเศส นายตั้ว ลพานุกรม นักศึกษาวิทยาศาสตร์ในสวิตเซอร์แลนด์ หลวงสิริราชไมตรี ผู้ช่วยสถานทูตสยามประจำกรุงปารีส นายแนบ พหลโยธิน เนติบัณฑิตอังกฤษ นายปรีดี พนมยงค์ ดุษฎีบัณฑิตกฏหมายฝ่ายนิติศาสตร์ ฝรั่งเศส)


จากนั้นเมื่อกลับสู่ประเทศไทยจึงขยายวงด้วยการไปเชิญ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งเป็นรองจเรทหารบกซึ่งเห็นความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมอยู่แล้วมาร่วมด้วย โดยก่อนนี้ พ.อ.พระยาพหลฯ ได้เคยเสนอให้ปรับปรุงกองทัพ แต่ก็ถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลเรื่องความอ่อนอาวุโสกว่า


ในเวลาต่อมา ทางคณะราษฎร มี พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.ท. พระประศาสน์พิทยายุทธ พ.อ.พระยาฤทธิ์อัคเณย์มาร่วมเพิ่ม เมื่อรวมกับ พ.อ. พระยาพหลฯ แล้วเรียกว่า
4 ทหารเสือ นอกจากนี้ ยังมีฝ่ายทหารเรือมาร่วมอีกกลุ่มหนึ่ง


ที่สำคัญการก่อการ พ.ศ.
2475 ยังมีชาวไทยมุสลิม ได้แก่ นายบรรจง ศรีจรูญ นักศึกษาไทยที่เมืองไคโร ประเทศอียิปต์ และนายแช่ม พรหมยงค์ อดีตจุฬาราชมนตรี ด้วย ส่วนชาวคาธอลิกก็มาช่วยในด้านงานพิมพ์แถลงการณ์ฉบับที่ 1 ที่โรงพิมพ์นิติสาส์น หลังพิมพ์เสร็จก็สั่งรื้อแท่นพิมพ์ทันที


นายศุขปรีดา บรรยายเบื้องหลังของแผนการว่า แผนการแรกคิดว่าจะลงมือตอนรัชกาลที่
7 แปรพระราชฐานไปที่หัวหิน ซึ่งต้องไปขึ้นรถไฟที่สถานีบางกอกน้อยและต้องผ่านบริเวณตลิ่งชัน จะใช้กองเรือกลเข้าล้อมและถวายอารักขา อย่างไรก็ตาม เกิดการเกรงว่าหากมีการปะทะจะยุ่ง จึงวางแผนกันใหม่กำหนดเวลาที่แน่นอนคือ ช่วงที่รัชกาลที่ 7 จะแปรพระราชฐานไปพระราชวังไกลกังวล ในวันที่ 24 มิ.ย. 2475 โดยนัดหมายเวลากันตอนย่ำรุ่งตามศัพท์เรียกโบราณ


เมื่อถึงเวลาเช้ามืดตามนัดจึงไปกันที่พระที่นั่งอนันตสมาคม เช้านั้นนอกจากทหารผู้ก่อการแล้ว มีทหารอื่นที่ไม่ทราบเรื่องประมาณหนึ่งกองพันใช้ลานพระรูปฝึกทหาร แต่เมื่อไปถึง พ.อ.พระยาพหลฯ กล่าวคำเดียวว่า
“พร้อมตายกับทุกคน” จากนั้นจึงสั่งจัดแถวทหารใหม่แบบให้ทุกหน่วยปนกันหมด เพื่อไม่ให้ใครสั่งการได้


ส่วนทหารอื่นหนึ่งกองพันก็ได้ถามผู้คุมว่าจะเอาด้วยหรือไม่ เขาก็เอาด้วย พ.อ.พระยาพหลฯ จึงไปอ่านแถลงการณ์คณะราษฎร ฉบับที่
1 ข้างบรมรูปทรงม้า หลังอ่านจบจึงเดินไปยังพระที่นั่งอนันตสมาคม ใช้ 2มือ ถือคีมตัดโซ่ที่คล้องประตูออก แล้วใช้พระที่อนันตสมาคมเป็นที่บัญชาการ หลังจากนั้นจึงเชิญสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่คนสำคัญ รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์คนอื่นๆ มาควบคุมไว้ จึงไม่มีการเสียเลือดเนื้อ


หลังก่อการจึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปเชิญรัชกาลที่
7 กลับ พระองค์ทรงตกลงแล้วเสด็จกลับโดยทางรถไฟ เมื่อมาถึงทางคณะราษฎรก็เข้าไปในลักษณะเชิงขอขมาลาโทษ นายปรีดีเล่าให้ฟังว่า ตอนนั้นท่านรับสั่งกับพระยาศรีวิศาลวาจา ว่า “ฉันบอกแกแล้วใช่หรือไม่ ให้มีการปกครองแบบใหม่ขึ้น” ซึ่งคณะราษฎรก็ไม่ทราบมาก่อนว่าจะทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญที่พระราชทานโดยพระเจ้าแผ่นดินหลายอย่างนั้นจะสงวนไว้สำหรับพระมหากษัตริย์อยู่ดี ปัจจุบันจึงถูกพูดว่าเป็นคุณหลวงห่ามๆ รีบทำกันเพราะในหลวงท่านพร้อมพระราชทานอยู่แล้ว แล้วมีความพยายามลบความทรงจำตรงนี้ออกไป


ต่อมาพระองค์เจ้าบวรเดช ซึ่งเป็นกลุ่มที่สูญเสียอำนาจไป ได้ยกทัพมาแต่ก็ไม่ได้รับความสำเร็จกลายเป็นกบฎบวรเดชไป บริเวณที่พูดอยู่ตอนนี้คือ ทุ่งบางเขนเป็นจุดที่ยกทัพมาตรึงแนวกันไว้ แล้วก็ล้มตายกันไปที่นี่ คนที่ตายก็ไม่ใช่เจ้านายแต่เป็นทหารที่ถูกเกณฑ์มา ต่อมาจึงมีการสร้างวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน หรือวัดประชาธิปไตยขึ้น เหตุผลหนึ่งของการสร้างวัดนี้ก็คือการขออหสิกรรมใน พ.ศ.
2476 อีกประการหนึ่งคืออยากให้สงฆ์ธรรมยุตินิกายและมหานิกายรวมกันได้ ส่วนพระภิกษุที่บวชรูปแรกของวัดก็คือ พ.อ.พระยาพหลฯ และแพทย์ประจำตัว

พ.ท.พุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา

ด้าน พ.ต.พุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา กล่าวว่า พ่อไม่ค่อยเล่าเรื่องเหล่านี้ให้ฟังแต่จะรู้จากแม่หรือคนรอบข้างบ้าง ที่รู้คือ จมื่นสุรฤทธิไกรหรืออาเคยมาชวนพ่อ เมื่อครั้ง ร.ศ. 130 จากนั้นอาก็ถูกปลดจากทหารเพราะกรณีดังกล่าว พ่อเคยบอกว่า ถ้าไม่มี ร.ศ. 130 ก็ไม่มี 24 มิ.ย. 2475 พวกนี้เป็นรุ่นพี่ที่ทำให้น้องรุ่นหลังเห็นตามด้วย ในวันที่ก่อการนั้น พ่อสั่งเสียกับแม่ก่อนว่าจะไปทำอะไร ถ้าไม่สำเร็จให้อพยพอย่างไร เพราะถ้าไม่สำเร็จคงถูกประหาร 7 ชั่วโคตร


พ.ต.พุทธินาถ ยังกล่าวถึงประสบการณ์ของการเป็นทหารว่า เริ่มต้นจากการไปสมัครเป็นนายสิบ และเคยเป็นกำลังในกรณีกบฎเมษาฮาวาย ที่ พ.อ.มนูญ รูปขจร เป็นผู้ก่อการ ขอบอกว่าสิ่งที่ พ.อ.มนูญ ทำกับ กรณี
24 มิ.ย. 2475 ผิดกันมาก


ตอนพ่อทำ พ่อไม่มีอะไรในกำมือ มีแต่ความตั้งใจที่จะนำประชาธิปไตยมาให้คนในชาติ ถ้าไม่สำเร็จก็ 7 ชั่วโคตร ดังนั้นทุกครั้งที่มีรัฐประหารขอบอกว่า เป็นการเปลี่ยนฝูงเหลือบที่จะมาสูบเลือดของชาติ แต่เจตนาบริสุทธิ์มีครั้งเดียวเท่านั้น คือ 24 มิ.ย. 2475” พ.ท. พุทธินาถ กล่าว


ส่วนในช่วงท้าย ทายาทของ พ.อ.พระยาพหลฯ ได้พูดสรุปอีกครั้งว่า ระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่การนำมาแต่ต้องได้รับการศึกษาด้วย สิ่งที่พ่อและนายปรีดีได้ทำก็คือการตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองซึ่งเวลานี้สูญหายไปจากประเทศไทยแล้ว ชื่อที่มีอยู่นั้นไม่ใช่ เพราะเขาไม่ได้สอนให้คนไทยรู้จักประชาธิปไตยอีกแล้ว


เขาเล่าว่า เคยได้คุยกับนักศึกษาที่บอกว่าตอนเรียนมีอุดมการณ์ต่างๆ มากมาย แต่พอไปเป็นข้าราชการแล้วก็ต้องทิ้งหมด เพราะถ้าถืออุดมการณ์ไว้ก็ไม่สามารถก้าวหน้าในราชการได้ อยากบอกว่าอุดมการณ์เป็นสิ่งสูงส่งของวัยรุ่น ถ้าไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ก็ควรเก็บใส่กระเป๋าไว้ แต่อย่าขว้างอุดมการณ์ทิ้ง เมื่อมีโอกาสก็เอามาดู ควักมันออกจากกระเป๋ามาดูว่าตรงไหนใช้ได้ ถ้าทุกคนที่จบมหาวิทยาลัยเก็บไว้ในกระเป๋า แล้วนำมาใช้เมื่อมีเวลาตามภาระหน้าที่ ประเทศไทยก็ไปข้างหน้าไม่รู้ถึงไหนแล้ว แต่ตอนนี้เล่นขว้างทิ้งกันตั้งแต่วัยรุ่นก็มีส่วนทำให้บ้านเมืองแย่ อุดมคติเป็นสิ่งบริสุทธิ์ เป็นความคิดบริสุทธิ์ที่วัยรุ่นมี อย่าทิ้ง เมื่อถึงวัยอันสมควรอาจจะได้ใช้ และป่านนี้ชาติคงไปไกลกว่านี้


พ.ต.พุทธินาถ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันนี้ไม่ได้รบกับชาติอื่นด้วยอาวุธแต่รบด้วยปัญญาและศีลธรรมจึงจะสู้กับชาติอื่นได้ ระบอบประชาธิปไตยก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้คนมีปัญญานำไปใช้ให้แผ่นดินนี้อยู่รอดได้

นายชุมพล พรหมยงค์

ด้านนายชุมพล พรหมยงค์ ทายาทของนายแช่ม พรหมยงค์ คณะราษฎรสายมุสลิม กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกที่แขกกับเจ๊กจะร่วมก่อการในวันที่ 24 มิ.ย. 2475 เพราะทั้งแขกและเจ๊กก็มีส่วนร่วมในกระบวนการปกครองของสยามมานาน


สมัยก่อน แขกจะส่งลูกไปเรียนนอกได้ก็ที่เดียวคือประเทศอียิปต์ นายบรรจงเป็นลูกคนมีเงิน แต่พอไปเรียนคงก็ไม่มีเงินติดกระเป๋ากลับบ้านก็คงไปอาศัยยืมเงินพรรคพวกคนไทยด้วยกันในปารีส อีกทั้งเป็นลูกเจ้าของร้านปืน เพื่อนๆ กันก็อยากช่วยกัน แล้วก็ไปชวนเพื่อนแขกคนอื่นมารวมทั้งพ่อด้วย จึงจะฝากให้คิดว่า วีรบุรุษกับผู้กล้าหาญนั้นมักจะเป็นเรื่องบังเอิญ


พ่อผมเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ท้ายที่มารวมตัวกันสมบูรณ์พอดี เพราะมีหัวก็ต้องมีท้าย พอปฏิวัติ 24 มิ.ย. 2475 ก็ทำด้วยความรู้สึกที่ต้องการร่วมด้วย มาจากความรู้สึกที่ดีและอยากจะทำงานมากกว่าอย่างอื่น
คนในบ้านเมืองเราก็มีคนแบบนี้อยู่มาก เพียงแต่ต้องหาโอกาสให้เขา"

นายสุพจน์ ด่านตระกูล

สุดท้าย นายสุพจน์ ด่านตระกูล นักเขียนและนักประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มาแล้ว อัครราชทูตไทยคนหนึ่งเคยมีหนังสือกราบเรียนให้เปลี่ยนการปกครองเพื่อต่อสู้กับอาณานิคมฝรั่ง ซึ่งรัชกาลที่ 5 มีหนังสือตอบไปว่าเห็นด้วยในหลักการแต่ต้องสำหรับประเทศอื่น ส่วนสยามควรปกครองกันแบบเดิม คือพระมหากษัตริย์มีอำนาจล้นพ้นไม่จำกัด


จากการที่กำลังศึกษาเรื่องประวัติรัฐธรรมนูญพบว่า หลัง
24 มิ.ย. 2575 กลุ่มพลังเก่าพยายามลบล้าง ประวัติศาสตร์ 24 มิ.ย. 2475 ออกไป ที่ชัดเจนคือการยกเลิกการให้วันที่ 24 มิ.ย. ของทุกปีเป็นวันชาติ ใน พ.ศ. 2503 ไทยจึงกลายเป็นประเทศเดียวในโลกที่ไม่มีวันชาติ และผู้พยายามยกเลิกก็คือ ตระกูล ชุณหะวัณหลังการทำรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญหลังจากนั้นมา ก็พยายามยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ 27 มิ.ย. 2475 ทั้งที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถือว่าเป็นการทำสัญญาประชาคม หลังการยื่นคำขาดต่อในหลวง

รัชกาลที่ 7 กลับมาในวันที่ 25 มิ.ย. หลังรับคำขาดวันที่ 24 มิ.ย. และถึงกรุงเทพฯ วันที่ 26 มิ.ย.โดยได้สาส์น 2 ฉบับ คือ การขอออกกฎหมายนิรโทษกรรมคณะราษฎรกับรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่ขอนิรโทษกรรมนั้นทรงอนุญาต แต่ส่วนรัฐธรรมนูญนั้นทรงขอพิจารณาหนึ่งคืนโดยไม่ลงพระนามในวันนั้น จากนั้นจึงเติมคำว่า ชั่วคราวลงไป


นายสุพจน์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญนี้ มาตราที่
1 บอกว่า ‘อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย’ และตอกย้ำด้วยมาตรา 7 ว่า การกระทำใดๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของกรรมการราษฎรจึ่งจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ


เหล่านี้ล้วนมีเพื่อตอกย้ำอำนาจที่เป็นโครงสร้างใหญ่ ถือว่าเป็นสัญญาประชาคมที่ รัชกาลที่
7 ทรงลงนามในฐานะกษัตริย์ ดังนั้นใครที่กระทำรัฐประหารต่อมาจึงไม่มีสิทธิออกนิรโทษกรรมทั้งสิ้น

ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑

ราษฎรทั้งหลาย

เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชสมบัติสืบต่อพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การณ์หาเป็นไปตามหวังที่คิดไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายตามเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณงามความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน ผลาญเงินทองของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้ในการตกต่ำในการเศรษฐกิจและความฝืดเคืองทำมาหากิน ซึ่งราษฎรได้รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้ การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎรตามที่รัฐบาลอื่นๆ ได้กระทำกัน รัฐบาลของกษัตริย์ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่าไพร่บ้าง ข้าบ้าง) เป็นสัตว์เดียรัจฉาน ไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้น แทนที่จะช่วยราษฎร กลับพากันทำนาบนหลังราษฎร จะเห็นได้ว่าภาษีอากรที่บีบคั้นเอาจากราษฎรนั้น กษัตริย์ได้หักเอาไว้ใช้ส่วนตัวปีหนึ่งเป็นจำนวนหลายล้าน ส่วนราษฎรสิ กว่าจะหาได้แต่เล็กน้อย เลือดตาแทบกระเด็น ถึงคราวเสียภาษีราชการหรือภาษีส่วนตัว ถ้าไม่มีเงินรัฐบาลก็ใช้ยึดทรัพย์หรือใช้งานโยธา แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันเป็นสุข ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นได้โค่นราชบัลลังก์เสียแล้ว


รัฐบาลของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่าจะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอยๆ ก็เหลวไป หาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำกล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้กิน ว่าราษฎรรู้เท่าไม่ถึงเจ้านั้นไม่ใช่เพราะโง่ เป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าราษฎรได้มีการศึกษาก็จะรู้ความชั่วร้ายที่ทำไว้และคงจะไม่ยอมให้ทำนาบนหลังคน


ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่าประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้กู้ให้ประเทศเป็นอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบและกวาดทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน
? ก็เอามาจากราษฎรเพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั่นเอง ! บ้านเมืองกำลังอัตคัตฝืดเคือง ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนา เพราะทำไม่ได้ผล รัฐบาลไม่บำรุง รัฐบาลไล่คนงานออกอย่างเกลื่อนกลาด นักเรียนที่เรียนสำเร็จแล้วและทหารที่ปลดกองหนุนไม่มีงานทำ จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม เหล่านี้เป็นผลของรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย บีบคั้นข้าราชการชั้นผู้น้อย นายสิบ และเสมียน เมื่อให้ออกจากงานแล้วไม่ให้เบี้ยบำนาญ ความจริงควรเอาเงินที่กวาดรวบรวมไว้มาจัดบ้านเมืองให้มีงานทำจึงจะสมควรที่สนองคุณราษฎรซึ่งได้เสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้ร่ำรวยมานาน แต่พวกเจ้าก็หาได้ทำอย่างใดไม่ คงสูบเลือดกันเรื่อยไป เงินมีเท่าไหรก็เอาฝากต่างประเทศคอยเตรียมหนีเมื่อบ้านเมืองทรุดโทรม ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย


เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่าการที่จะแก้ความชั่วร้ายก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่มีประสงค์ทำการชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองของแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความเห็นนี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมาก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่าราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุกๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฏหมายทำมาแล้ว เป็นหลักใหญ่ๆ ที่คณะราษฎรวางไว้ มีอยู่ว่า


๑.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง การศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง

๒.จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

๓.ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎร อดอยาก

๔.จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎร เช่นที่เป็นอยู่)

๕.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๕ ประการดังกล่าวข้างต้น

๖.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร


ราษฎรทั้งหลายจงพร้อมกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันคงจะอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมายพึงตั้งอยู่ในความสงบและตั้งหน้าหากิน อย่าทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลน ของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาสพวกเจ้า หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า
ศรีอาริย์นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า

คณะราษฎร

๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

ข้อมูลประกอบ

รายชื่อสมาชิกคณะราษฎร

......................................

แก้ไขคำผิดบางส่วน โดย 2 4 7 5 Article

พฤหัส 21

กุมภา 51

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

02 ชาตรี ประกิตนนทการ : ความทรงจำ และ อำนาจ บนถนนราชดำเนิน



ถนนราชดำเนินในอดีต ราวทศวรรษที่ ๒๔๙๐
(ที่มา: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

ความทรงจำ และ อำนาจ บนถนนราชดำเนิน

ชาตรี ประกิตนนทการ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

http://www.muangboranjournal.com/modules.p...ticle&artid=179

ความทรงจำทางประวัติศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญต่อผู้คนและสังคม

ความทรงจำมิใช่เป็นเพียงแค่การจดจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตเฉยๆ เท่านั้น หากแต่เป็นการจดจำอดีตที่มีพลังในการอธิบายเชื่อมโยงมาสู่การกระทำทั้งในปัจจุบันและ
อนาคต

ความทรงจำทางประวัติศาสตร์ คือการเลือกจดจำอดีตบางอย่างเอาไว้ โดยละเลยอดีตอื่นๆ ที่เราคิดว่าไม่สำคัญหรือไม่อยากจำ การเลือกจำหรือไม่จำอะไรย่อมขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคม ความทรงจำที่มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กับโครงสร้างอำนาจในปัจจุบันพึงถูกเก็บซ่อนหรือคัด
ทิ้ง ขณะที่ความทรงจำซึ่งหนุนเสริมโครงสร้างอำนาจในปัจจุบันย่อมถูกเลือกมาจดจำ ผลิตซ้ำ และเผยแพร่ให้กลายเป็นความทรงจำร่วมของสังคม

ใครเป็นวีรบุรุษที่เราควรยกย่อง ใครคือผู้ร้ายที่ต้องสาปแช่งประณาม เหตุการณ์ใดมีค่าควรแก่การจดจำ เหตุการณ์ไหนควรปล่อยทิ้งและลืมเลือน เหล่านี้ล้วนถูกกำหนดจากโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจในแต่ละยุคสมัย ซึ่งไม่มีความแน่นอน จริงแท้ และถาวร เป็นแต่เพียงจินตนาการร่วมกันของสังคม ณ ยุคสมัยหนึ่ง เป็นเพียงการเรียงร้อยอดีตที่ขาดช่วง ไม่ต่อเนื่อง และกระจัดกระจาย ให้สามารถรวมกันอยู่ภายใต้ความทรงจำที่มีเอกภาพชุดหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ตอกย้ำความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคม ณ ช่วงเวลานั้นๆ

อย่างไรก็ตาม ความทรงจำที่ถูกคัดทิ้งในยุคสมัยหนึ่งอาจถูกเลือกมาจดจำและผลิตซ้ำในอีกสมัยหนึ่งก็ไ
ด้ ในขณะที่ความทรงจำที่เคยถูกจดจำมากในสมัยหนึ่งก็อาจถูกกดทับและลืมเลือนได้เช่นกัน และเมื่อใดก็ตามที่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจเปลี่ยนแปลงไป ความทรงจำที่เคยถูกกดทับก็พร้อมจะก้าวขึ้นมาประกอบสร้างเป็นความทรงจำร่วมของสังคมแท
นที่ได้เสมอ

อาจกล่าวได้ว่า อำนาจเป็นผู้ผลิตสร้างความทรงจำ และในทางกลับกัน ความทรงจำก็ทำหน้าที่เกื้อหนุนอำนาจให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

เมื่อความทรงจำและอำนาจเป็นเสมือนสองด้านของเหรียญเดียวกันเช่นนี้ พื้นที่แห่งความทรงจำจึงเป็นสนามประลองที่ต้องมีการแย่งชิงต่อสู้กันอยู่ตลอดเวลา ใครที่ยึดกุมความทรงจำร่วมของสังคมได้ย่อมเป็นผู้มีอำนาจ และผู้มีอำนาจย่อมสถาปนาความทรงจำที่ตนเองได้ประโยชน์ ให้กลายเป็นความทรงจำร่วมของสังคม

การต่อสู้แย่งชิงความทรงจำทางประวัติศาสตร์ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนใน “ตำราประวัติศาสตร์” อย่างไรก็ตาม ตำราประวัติศาสตร์ก็เป็นเพียงพื้นที่หนึ่งที่มีการต่อสู้แย่งชิงความทรงจำเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริง ในทุกปริมณฑลของสังคม ในทุกๆ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์สร้างขึ้นโดยมนุษย์ ล้วนแล้วแต่เป็นที่บรรจุความทรงจำและเป็นสมรภูมิแย่งชิงความทรงจำทั้งสิ้น

ดังนั้น ในบทความนี้จึงพยายามที่จะศึกษาประเด็นการแย่งชิงความทรงจำทางประวัติศาสตร์ และการนิยามความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางสังคมในปริมณฑลอื่นที่นอกเหนือจากตำราประวัติศา
สตร์ โดยผู้เขียนสนใจที่จะศึกษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจผ่านการต่อสู้แย่งชิงความทรงจำบนพื้
นที่ถนนราชดำเนิน

สาเหตุที่สนใจถนนราชดำเนิน เป็นเพราะว่าถนนราชดำเนินเป็นถนนประวัติศาสตร์ที่มีความเป็นมายาวนานและมีสถานะพิเศษ
มากกว่าถนนเส้นอื่นๆ ในสังคมไทย

ตลอดระยะเวลาร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ถนนราชดำเนินได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นฉากทางประวัติศาสตร์สังคมและการเมืองไทยหลายต่อ
หลายครั้ง จนอาจกล่าวได้ว่า ทุกตารางนิ้วบนถนนราชดำเนินและพื้นที่ต่อเนื่องใกล้เคียงล้วนเต็มไปด้วยความทรงจำทาง
ประวัติศาสตร์ ซึ่งความทรงจำที่เกิดขึ้นมิได้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแต่อย่างใด แต่กลับเต็มไปด้วยความหลากหลายที่ขัดแย้งและไม่ลงรอยกัน แต่ละความทรงจำต่างแย่งชิงการนำ และพยายามเบียดขับความทรงจำอื่นให้พ้นออกไปอยู่ตลอดเวลา

หากมองเปรียบเทียบระหว่างถนนราชดำเนินกับตำราประวัติศาสตร์ ในฐานะที่เป็นวัตถุที่บรรจุความทรงจำร่วมของสังคมเอาไว้ จะพบความแตกต่างในระเบียบวิธีการศึกษา คือ การศึกษาความทรงจำในตำราประวัติศาสตร์จะกระทำผ่านการวิเคราะห์ “โครงเรื่อง” ที่สื่อสารด้วยภาษาและตัวอักษร ในขณะที่การศึกษาความทรงจำบนพื้นที่สาธารณะ เช่น ถนนราชดำเนิน จะต้องกระทำผ่านการวิเคราะห์องค์ประกอบทางกายภาพของพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละย
ุคสมัย ไม่ว่าจะเป็น ตึก อาคาร ถนน ต้นไม้ อนุสาวรีย์ ป้ายโฆษณา ฯลฯ โดยองค์ประกอบเหล่านี้เป็นเสมือนภาษาในอีกแบบหนึ่ง ที่จะขอเรียกว่าเป็น “ภาษาสถาปัตยกรรม”

ภาษาสถาปัตยกรรมเหล่านี้มีไวยากรณ์เฉพาะที่สัมพันธ์กับบริบทในแต่ละยุคสมัย การทำความเข้าใจจะต้องอาศัยการศึกษาและทำความใจในไวยากรณ์ของภาษาดังกล่าวภายใต้บริบ
ทของยุคสมัย ถึงจะสามารถถอดความหมายที่แฝงอยู่ในองค์ประกอบเหล่านั้นออกมาได้

ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การแย่งชิง ความทรงจำ และอำนาจ บนถนนราชดำเนินตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จะวนเวียนอยู่แวดล้อมประเด็นปัญหาว่าด้วยโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างกลุ่
มอำนาจหลักๆ ในสังคมไทยสามกลุ่ม คือ “สถาบันกษัตริย์” “รัฐ” และ “กลุ่มคนชั้นกลางใหม่” ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นหลังปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา

การต่อสู้แย่งชิงความทรงจำและอำนาจดังกล่าวทิ้งร่องรอยให้ปรากฏเห็นได้อย่างชัดเจนจา
กองค์ประกอบต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่ถนนราชดำเนิน

รายละเอียดทั้งหมดจะอภิปรายและชี้ให้เห็นในหัวข้อต่อๆ ไป1


จากราชดำเนิน สู่ราษฎรเดินนำ2 : จุดเริ่มการแย่งชิงความทรงจำและอำนาจ

ถนนราชดำเนินประกอบด้วยถนนสามสาย คือราชดำเนินนอก ราชดำเนินกลาง และราชดำเนินใน ถนนราชดำเนินนอกถูกตัดขึ้นเป็นสายแรก โดยเป็นถนนถมดินปูอิฐ เริ่มตัดในเดือนสิงหาคมปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เพื่อใช้เป็นทางเสด็จพระราชดำเนินสู่วังสวนดุสิต3 ใช้เวลาตัดสองปี

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนราชดำเนินกลางต่อในทันที ส่วนถนนราชดำเนินในคงเริ่มสร้างในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน

ถนนสามสายถูกเรียกรวมว่า “ถนนราชดำเนิน” ตลอดแนวถนนพาดผ่านคลองสำคัญสามสาย คือคลองคูเมืองเดิม คลองรอบกรุง และคลองผดุงกรุงเกษม รัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงโยธาธิการก่อสร้างสะพานสมัยใหม่ด้วยรูปแบบศิลปะตะวันตกขึ้นเพื่อเชื่อมร้อ
ยถนนราชดำเนินทั้งสามให้ต่อเนื่องเป็นสายเดียวกัน คือสะพานผ่านพิภพลีลา ผ่านฟ้าลีลาศ และมัฆวานรังสรรค์

ถนนราชดำเนินคือสัญลักษณ์ที่เชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ “สยามเก่า” คือ พระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กับพื้นที่ “สยามใหม่” คือ พระราชวังดุสิตและวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ซึ่งเป็นการสะท้อนความเปลี่ยนแปลงอุดคติทางการเมืองแบบจักรพรรดิราชมาสู่สมบูรณาญาสิ
ทธิราชย์ องค์ประกอบที่แวดล้อมถนนราชดำเนิน ไม่ว่าจะเป็นสะพาน พระราชวัง วัง และตำหนัก ที่สร้างขึ้นด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก คือภาพสะท้อนของพระราชอำนาจสมัยใหม่ และศูนย์กลางจักวาลสมัยใหม่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์4

นอกจากนี้ ถนนราชดำเนินยังทำหน้าที่เป็น “ฉากแห่งความศิวิไลซ์” ของสยามที่แสดงต่อนานาอารยประเทศ และเป็นรูปธรรมของสัญลักษณ์ในการนำพาประเทศสยามก้าวเข้าสู่ความเจริญก้าวหน้าแบบสมัย
ใหม่อย่างชาญฉลาดและทันท่วงที จนสยามรอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมไปได้ ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นภายใต้ร่มพระบารมีของรัชกาลที่ ๕ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี โดยมีสัญลักษณ์แห่งความทรงจำที่สำคัญที่สุดคืออนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าและพระที่นั
่งอนันตสมาคม ที่ปลายสุดของถนนราชดำเนินนอก

แต่นัยเชิงสัญลักษณ์นี้จะเริ่มถูกแย่งชิงความหมายไป ภายหลังเหตุการณ์ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยคณะราษฎร

คณะราษฎรพยายามสร้างความทรงจำใหม่ว่าด้วยเส้นแบ่งทางประวัติศาสตร์ระหว่าง “สยามเก่า” กับ “สยามใหม่” ขึ้น โดยในช่วงก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๕ คือยุค “สยามเก่า” ที่ล้าหลัง ในขณะที่ช่วงหลังปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา สยามได้ก้าวเข้าสู่ “สยามใหม่” ที่ทันสมัย5 ความทรงจำว่าด้วยรัชกาลที่ ๕ นำความศิวิไลซ์มาสู่บ้านเมือง ถูกแทนที่ด้วยความทรงจำว่าด้วยระบอบประชาธิปไตยคือความเจริญก้าวหน้าที่แท้จริงของบ้
านเมือง เส้นแบ่งทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะ6 สถาปัตยกรรม ภาษา วรรณกรรม การแต่งกาย เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีรูปแบบที่ตัดขาดจากยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์เกือบจะสิ้นเชิง

ถนนราชดำเนินกลางคือพื้นที่สำคัญที่ถูกสร้างให้เป็นสัญลักษณ์ของความทรงจำใหม่นี้ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ รัฐบาลคณะราษฎรเริ่มทำการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ถนนราชดำเนินกลางใหม่ทั้งหมด เริ่มจากการตัดต้นมะฮอกกานีที่ปลูกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ลง ทำการขยายถนน สร้างอาคารพาณิชย์ โรงแรม ศูนย์การค้า และที่สำคัญที่สุดคืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตย7 ซึ่งถูกสร้างขึ้นกลางถนนราชดำเนินกลาง เพื่อเป็นที่ระลึกในเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยสัดส่วนความกว้าง ความสูง ตลอดจนรายละเอียดของการออกแบบอนุสาวรีย์ล้วนถอดออกมาจากตัวเลขที่สัมพันธ์กับวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ทั้งสิ้น8

อาคารสองฟากฝั่งถนนราชดำเนินกลางถูกออกแบบด้วย “สถาปัตยกรรมแบบทันสมัย” (ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบสถาปัตยกรรม Modern Architecture ในยุโรป) ที่มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากสถาปัตยกรรมในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างส
ิ้นเชิง รูปแบบสถาปัตยกรรมมีความเรียบง่ายในรูปแบบและองค์ประกอบ ตัดทิ้งซึ่งลวดลายตกแต่งทางสถาปัตยกรรม ตัดขาดจากฐานานุศักดิ์ในงานสถาปัตยกรรม สื่อถึงนัยแห่งความเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตย9 ที่ราษฎรเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย มิใช่กษัตริย์อีกต่อไป

ราชดำเนินในยุคนี้ โดยเฉพาะราชดำเนินกลาง ได้ถูกแทนที่ความทรงจำแบบเดิมในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (ซึ่งมีสัญลักษณ์คือสถาปัตยกรรมรูปแบบตะวันตกในแบบต่างๆ และอนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า) ด้วยความทรงจำใหม่ของคณะราษฎร (ซึ่งมีสัญลักษณ์คือสถาปัตยกรรมแบบทันสมัยและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย)

โครงการที่เกิดขึ้นบนถนนราชดำเนินในยุคนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจเฉพ
าะระหว่าง “สถาบันกษัตริย์” กับ “รัฐ” (คณะราษฎร) ที่เพิ่งทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองมา เป็นเพียงการแย่งชิงและต่อรองอำนาจกันระหว่างชนชั้นนำ โดยมิได้กระจายไปสู่ประชาชนในวงกว้างแต่อย่างใด ความสัมพันธ์ของกลุ่มอำนาจสองกลุ่มนี้ดำเนินไปในแบบโครงสร้างอำนาจในระบอบประชาธิปไต
ยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง

“สถาบันกษัตริย์” ดำรงสถานะเป็นเพียงสัญลักษณ์ มิได้มีอำนาจใดๆ แม้แต่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่สองฟากฝ
ั่งถนนราชดำเนินกลาง ก็มีสถานะเป็นหน่วยงานราชการ ภายใต้กำกับดูแลของรัฐโดยเด็ดขาด ผ่านกระทรวงการคลัง10

“สถาบันกษัตริย์” ไม่มีพื้นที่ในการแสดงสัญลักษณ์ความเป็นตัวแทนของตนเองออกสู่สาธารณะได้ พระราชพิธีต่างๆ ถูกยกเลิกไปโดยมาก เช่น พิธีโล้ชิงช้า พิธีแรกนาขวัญ พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น ซึ่งส่วนหนึ่งคงเนื่องมาจากในช่วงเวลานี้ กษัตริย์ประทับอยู่นอกประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่อีกส่วนหนึ่งก็คงปฏิเสธได้ยากถึงโครงสร้างอำนาจทางสังคมในยุคนี้ ที่ไม่เปิดที่ทางมากนักแก่ “สถาบันกษัตริย์” ในขณะที่ “รัฐ” มีความเข้มแข็งมาก สามารถกำหนดนโยบายต่างๆ ได้อย่างอิสระ และควบคุมพื้นที่สาธารณะและควบคุมความทรงจำบนพื้นที่สาธารณะได้อย่างเบ็ดเสร็จ ดังจะเห็นได้จากตัวแบบบนถนนราชดำเนินที่ได้ยกมา11

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในลักษณะนี้ก็คงอยู่เพียงไม่นานคือ เพียงราว ๑๕ ปีเท่านั้น หลังจากเหตุการณ์สวรรคตอันลึกลับของรัชกาลที่ ๘ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ และการรัฐประหารในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ คณะราษฎรถูกเบียดขับตกไปจากเวทีแห่งอำนาจ พร้อมๆ กับการรื้อฟื้นกลับมาของพลังอนุรักษ์นิยมที่ต้องการรื้อฟื้นพระราชอำนาจของสถาบันกษั
ตริย์ให้เพิ่มสูงขึ้น

ทั้งหมดได้ส่งผลต่อโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจในรูปแบบใหม่ และกระทบต่อการสร้างความทรงจำใหม่ๆ บนถนนราชดำเนินด้วย


ถนนราชดำเนินกับการแย่งชิงความทรงจำว่าด้วยกำเนิดประชาธิปไตย

เป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า หลังปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นต้นมา พลังอนุรักษ์นิยมที่แสดงออกในแนวทางการเมืองแบบ “กลุ่มนิยมเจ้า” (Royalist) ได้เริ่มเข้ามามีบทบาททางสังคมและการเมืองมากขึ้น ในขณะเดียวกับที่อุดมการณ์ของคณะราษฎรได้แตกสลายลงไป

หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เจ้านายทั้งหลายได้รับบรรดาศักดิ์คืน และได้รับอนุญาตให้มีบทบาททางการเมืองได้ ในแง่รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. ๒๔๙๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยสาระสำคัญ ได้มีการถวายพระราชอำนาจแด่กษัตริย์มากขึ้น กษัตริย์มีพระราชอำนาจในทางการเมือง เช่น การแต่งตั้ง ถอดถอนนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี การเลือก การแต่งตั้งวุฒิสภา เป็นต้น12 แม้ว่าจอมพล ป. พิบูลสงครามจะยังสามารถกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้อีกครั้งก็ตาม แต่คราวนี้ จอมพล ป. ก็ต้องสลัดทิ้งอุดมการณ์คณะราษฎรออกไปจนเกือบสิ้น และต้องประนีประนอมกับกลุ่มนิยมเจ้าเป็นอย่างมาก

ภายใต้บรรยากาศแบบนิยมเจ้า ความทรงจำของเหตุการณ์ปฏิวัติ ๒๔๗๕ เริ่มถูกรื้อสร้างความหมายใหม่ โดยกลุ่มปัญญาชนนิยมเจ้าหลายคนที่ก้าวเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในยุคหลัง ๒๔๙๐ ที่สำคัญได้แก่ ม.ร.ว. เสนีย์ และ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

ม.ร.ว. เสนีย์ เริ่มนิยามกำเนิดประชาธิปไตยใหม่ อธิบายว่าประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย มิใช่เพิ่งมาเริ่มมีในปี ๒๔๗๕ โดยให้ความเห็นว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหงคือรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย13 ซึ่งเท่ากับแสดงว่าระบอบประชาธิปไตยมีมาช้านานแล้วตั้งแต่ยุคสุโขทัย

นอกจากนี้ ม.ร.ว. เสนีย์ ยังเป็นบุคคลแรกๆ ที่เริ่มสร้างความทรงจำว่าด้วยรัชกาลที่ ๗ เป็นกษัตริย์นักประชาธิปไตย เป็นผู้ที่ริเริ่มจะให้สยามได้ก้าวสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และกำลังจะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชนชาวไทยอยู่แล้ว แสดงให้เห็นว่ากษัตริย์ไทยเป็นประชาธิปไตยมาก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยค
ณะราษฎรด้วยซ้ำ14 อันจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความทรงจำว่าด้วย “การชิงสุกก่อนห่าม” ของคณะราษฎรในเวลาต่อมา

การแย่งชิงความทรงจำว่าด้วยกำเนิดรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตยดังกล่าว ในมิติของความพยายามสร้างความทรงจำบนถนนราชดำเนินได้เริ่มปรากฏให้เห็นอย่างเป็นรูปธ
รรมครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ประชุมและมีมติให้จัดสร้างอนุสาวรีย์รัชกาลที่ ๗ ขึ้น โดยให้ทำการรื้อป้อมกลางของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยลง และนำอนุสาวรีย์รัชกาลที่ ๗ ที่มีขนาดใหญ่สามเท่าตัวคนไปตั้งแทน โดยคณะกรรมการมีความเห็นว่า พานรัฐธรรมนูญเป็นเพียงสิ่งของเท่านั้น ทำไมจึงไม่นำพระบรมรูปไปตั้งแทน เพราะเหมาะสมกว่าในแง่ที่เป็นการระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง15

เห็นได้ชัดถึงความพยายามในการลบความทรงจำว่าด้วยกำเนิดประชาธิปไตยโดยคณะราษฎรลง และแทนที่ด้วยความทรงจำว่าด้วยกำเนิดประชาธิปไตยโดยการพระราชทานของรัชกาลที่ ๗ ลงไปบนพื้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ซึ่งแม้จะประนีประนอมกับฝ่ายนิยมเจ้ามากเพียงใด ก็ยังไม่ยอมให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นได้ โดยอ้างว่าไม่มีงบประมาณ จากนั้นเรื่องก็เงียบหายไป

ความสำเร็จในแง่วัตถุสัญลักษณ์ของความทรงจำบนถนนราชดำเนินว่าด้วย ประชาธิปไตยอันเกิดจากการพระราชทานนั้นจะมาเกิดขึ้นจริงภายหลัง แต่มิได้เกิดขึ้นบนพื้นที่ถนนราชดำเนินโดยตรง ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ มีการสร้างอาคารรัฐสภาบนถนนอู่ทองใน ปลายสุดของถนนราชดำเนินนอก ทางด้านเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้มีการตั้งอนุสาวรีย์รัชกาลที่ ๗ ขึ้นไว้หน้าอาคารรัฐสภา แสดงถึงนัยของการสร้างความทรงจำว่าด้วยกษัตริย์ประชาธิปไตยได้อย่างชัดเจนยิ่ง


การสร้างความทรงจำของสถาบันกษัตริย์บนถนนราชดำเนินและพื้นที่ต่อเนื่อง

นอกจากอนุสาวรีย์รัชกาลที่ ๗ แล้ว บนพื้นที่หน้าอาคารกระทรวงยุติธรรมที่สร้างขึ้นโดยคณะราษฎรในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ เพื่อเป็นอาคารที่ระลึกในการที่ประเทศไทยได้รับเอกราชสมบูรณ์ (เอกราชทางการศาล) ก็มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๐๗ ภายใต้ความทรงจำ “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” ซึ่งเป็นหนึ่งในอนุสาวรีย์แห่งความทรงจำชุด “พระบิดา” ในสาขาวิชาต่างๆ อันเป็นอนุสาวรีย์ชุดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นนับตั้งแต่หลังปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นต้นมา16 นับเป็นปรากฏการณ์หนึ่งในหลายๆ ประการของกระแส “นิยมเจ้า” ที่เพิ่มสูงขึ้นในยุคนั้น อนุสาวรีย์ชุดดังกล่าวได้สร้างอำนาจและพลังในการอธิบายที่สำคัญยิ่งต่อสังคมไทยในปัจ
จุบัน เป็นพลังแห่งความทรงจำใหม่ที่อธิบายความเจริญก้าวหน้าในศาสตร์ทุกสาขาวิชาชีพภายใต้ร
่มพระอัจฉริยภาพของเจ้านายเชื้อพระวงศ์

ในพื้นที่สองฟากฝั่งถนนราชดำเนินนอก ยุคหลัง พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้เกิดการสร้างอาคารที่ทำการกระทรวง ตลอดจนสถานที่ราชการอื่นๆ อีกหลายหลังขึ้น อาทิ กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๔๙๗ (สนามเสือป่า) ศาลาสันติธรรม พ.ศ. ๒๔๙๖ (เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ - ปัจจุบันรื้อลงแล้ว) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เป็นต้น

กลุ่มอาคารเหล่านี้ ถูกสร้างขึ้นด้วยรูปแบบ “สถาปัตยกรรมไทยประยุกต์” ภายใต้นโยบายชาตินิยมทางวัฒนธรรมของจอมพล ป. พิบูลสงครามในยุคหลังปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ซึ่งกระแสความคิดได้หวนทวนย้อนกลับมาสู่แนวทางที่เป็นอนุรักษ์นิยมมากขึ้น สอดคล้องเป็นอย่างดีกับแนวคิดของ “กลุ่มนิยมเจ้า” ที่สร้างความทรงจำว่าด้วย “ความเป็นไทย” ที่ต้องยึดโยงสัมพันธ์กับความเป็นไทยแบบจารีตโบราณอย่างแนบแน่น มิใช่ความเป็นไทยใหม่แบบที่ยุคคณะราษฎรเคยกระทำไว้ให้แก่สถาปัตยกรรมสองฟากฝั่งถนนรา
ชดำเนินกลางในทศวรรษที่ ๒๔๘๐

ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพทั้งหมดบนถนนราชดำเนินในทศวรรษที่ ๒๔๙๐ นี้ เป็นภาพสะท้อนของการรื้อฟื้นพระราชอำนาจของ “สถาบันกษัตริย์” ในสังคมไทย ที่แสดงออกผ่านโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนถนนราชดำเนิน ความทรงจำเกี่ยวกับคณะราษฎรบนถนนราชดำเนินแทบจะเลือนหายไปหมดสิ้น

“รัฐ” ในช่วงเวลานี้ จำเป็นต้องประนีประนอมกับพระราชอำนาจมากขึ้น ขณะที่ “สถาบันกษัตริย์” เริ่มปรากฏที่ทางในการแสดงพระองค์สู่สาธารณะมากขึ้น และสร้างความทรงจำลงบนที่สาธารณะเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเกิดขึ้นของอนุสาวรีย์ชุด “พระบิดา” ต่างๆ การสร้างความทรงจำว่าด้วยการพระราชทานรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตยโดยรัชกาลที่ ๗ ผ่านการสร้างอนุสาวรีย์ของพระองค์หน้าอาคารรัฐสภา หรือแม้แต่การเกิดขึ้นของรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ที่อิงอาศัยรูปแบบสถาปัตยกรรม
ไทยแบบจารีต ซึ่งเป็นนัยของรูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมที่แวดล้อม “สถาบันกษัตริย์” หรือชนชั้นสูงมาแต่เดิม

รูปธรรมที่สำคัญอีกประการซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระราชอำนาจของ “สถาบันกษัตริย์” ที่เพิ่มขึ้น คือการถือกำเนิดของ “โครงการพระราชดำริ” ที่เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๔17 ในขณะที่อำนาจของ “รัฐ” กลับมีทิศทางที่สวนกัน คืออำนาจเริ่มจะลดน้อยลง

กรณีตัวอย่างบนถนนราชดำเนินที่สะท้อนโครงสร้างความสัมพันธ์นี้ได้ดีคือ การออกพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ใน พ.ศ. ๒๔๙๑ ที่ทำให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กลายสถานะเป็นองค์กรอิสระอยู่นอกเหนือร
ัฐ การดูแลบริหารจัดการเกิดขึ้นจากคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยตรงจากกษัตริย์ ซึ่งผลจากพระราชบัญญัตินี้ได้ทำให้พื้นที่สองฟากฝั่งถนนราชดำเนินในหลายๆ ส่วนกลายมาอยู่ภายใต้องค์กรในพระราชอำนาจโดยตรง18

หลังจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหารรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ จนข้ามมาถึงยุคจอมพลถนอม กิตติขจรเป็นนายกรัฐมนตรีต่อมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ในช่วงระยะเวลาราว ๑๕ ปีนี้ ถือได้ว่าอำนาจ “รัฐ” ได้ตกมาอยู่ในกลุ่มทหาร รัฐไทยมีลักษณะเผด็จการที่ขาดความชอบธรรม แต่ได้อาศัยอ้างอิงความชอบธรรมด้วยการแสดงบทบาทสนับสนุนการรื้อฟื้นพระราชอำนาจของ “สถาบันกษัตริย์” ให้เพิ่มสูงขึ้น19 สถาบันกษัตริย์ได้เริ่มกลายมาเป็นแกนกลางแห่งความเป็นชาติไทย เริ่มกลายเป็นสถาบันหลักที่สำคัญที่สุดแห่งความเป็นชาติ

ในยุคนี้ พื้นที่สาธารณะต่างๆ จะถูกจัดแสดงเรื่องราวต่างๆ ที่แวดล้อมและเกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์มากขึ้น อำนาจ “รัฐ” แม้ว่าจะเข้มแข็ง แต่ต้องอิงอาศัยกับพระราชอำนาจเป็นสำคัญ มีการรื้อฟื้นพระราชพิธีต่างๆ ที่ถูกยกเลิกไปในปี ๒๔๗๕ ให้กลับมามีบทบาทและที่ทางในสังคมอีกครั้ง20

นอกจากรื้อฟื้นพระราชพิธีเก่าแล้ว ยังมีการสร้างพระราชพิธีใหม่ด้วย ที่สำคัญในช่วงเวลานี้คือพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๓ รอบ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ซึ่งเป็นพระราชพิธีพิเศษเฉพาะในรัชกาลปัจจุบัน มีการสร้างซุ้มเฉลิมพระเกียรติและประดับประดาไฟตามถนนหนทาง โดยเฉพาะถนนราชดำเนิน ที่สำคัญคือมีการรื้อฟื้นการเสด็จเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ซึ่งที่ผ่านมาจะกระทำเฉพาะในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเท่านั้น แต่เนื่องจากในรัชกาลปัจจุบันมิได้ทรงกระทำเมื่อคราวบรมราชาภิเษก รัฐบาลจึงจัดให้มีขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น “ประเพณีประดิษฐ์ใหม่” เฉพาะในรัชกาล

กระบวนเสด็จในการเสด็จเลียบพระนครยาตราออกจากพระบรมมหาราชวังไปตามถนนหน้าพระลาน เข้าถนนราชดำเนิน ถนนพระสุเมรุ ไปยังวัดบวรนิเวศ ประกอบพิธีในพระอุโบสถ เสร็จแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับยังพระบรมมหาราชวัง21

พระราชพิธีดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์สำคัญอีกครั้งในการสร้างความทรงจำร่วมทางสังคมที่ “สถาบันกษัตริย์” ได้เริ่มก้าวเข้ามาเป็นศูนย์กลางจิตใจของคนไทยทั้งชาติอย่างจริงจัง โดยมีฉากที่สำคัญคือถนนราชดำเนิน


การแบ่งส่วนความทรงจำของคนชั้นกลางบนถนนราชดำเนิน

ผลกระทบที่สำคัญอีกด้านของสมัยเผด็จการจอมพลสฤษดิ์ที่สืบเนื่องมายังสมัยจอมพลถนอมคื
อ สังคมไทยได้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในทางเศรษฐกิจ เกิดสภาพัฒนาเศรษฐกิจฯ เกิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศมากมาย เกิดมหาวิทยาลัยในภูมิภาคขึ้นหลายแห่ง เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมภายใต้การกำกับของรัฐ ฯลฯ

ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิด “กลุ่มคนชั้นกลางใหม่” ในปริมาณที่สูงขึ้น22 คนชั้นกลางใหม่เหล่านี้เริ่มไม่พอใจต่อรัฐบาลเผด็จการทหารที่รวบอำนาจเอาไว้แต่เพียง
กลุ่มเดียว กลุ่มคนชั้นกลางใหม่เหล่านี้ โดยเฉพาะนิสิต นักศึกษา ปัญญาชน ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงสร้างอำนาจมากขึ้น ต้องการการปกครองที่มีความเป็นประชาธิปไตย ต้องการรัฐธรรมนูญ

ความไม่พอใจต่อระบบเผด็จการทหารได้ขยายตัวจนนำไปสู่การรวมพลังกันเป็นมหาชนขนาดใหญ่ใ
นเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ซึ่งอาจถือว่าเป็นปฏิวัติของคนชั้นกลางใหม่ เพื่อขับไล่เผด็จการทหารที่ครองอำนาจมาอย่างยาวนาน

ผลกระทบสืบเนื่องจากเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาฯ คือการก้าวเข้ามามีส่วนแบ่งในโครงสร้างอำนาจของกลุ่มชนชั้นกลางใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ และจากการที่ถนนราชดำเนินได้กลายเป็นเวทีในการแสดงพลังที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมครั้ง
สำคัญของกลุ่มคนชั้นกลางใหม่เหล่านี้ ได้ทำให้ถนนราชดำเนินถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ ต่อรอง และเรียกร้องความต้องการต่างๆ ของกลุ่มคนชั้นกลางใหม่ ในความหมายของการเป็น “ถนนประชาธิปไตย”

นอกจากนั้น ภาพมหาชนที่คราคร่ำเต็มถนนราชดำเนินและรายล้อมอยู่โดยรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้ทำ
ให้ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ก่อนหน้านี้มีความเป็นประชาธิปไตยแต่เพียงชื่อ ได้กลายความหมายมาเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยอย่างแท้จริง23

ด้วยเหตุนี้ ถนนราชดำเนินหลัง ๑๔ ตุลาฯ จึงมิได้บรรจุเพียงความทรงจำที่สะท้อนอำนาจเฉพาะของ “สถาบันกษัตริย์” และ “รัฐ” เพียงเท่านั้น แต่ได้เพิ่มความทรงจำว่าด้วยการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยของประชาชน (คนชั้นกลาง) เอาไว้ด้วย การผลักดันของพลังนักศึกษาปัญญาชนให้ทำการก่อสร้าง “อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา” ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗24 คือสิ่งที่ยืนยันถึงอำนาจของคนชั้นกลางที่อยากจะขอร่วมแบ่งพื้นที่แห่งความทรงจำบนถน
นราชดำเนินแห่งนี้

แต่ภายหลังจากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่ทารุณโหดร้ายอย่างยิ่งกลางท้องสนามหลวงและในมหา
วิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ก็ได้ทำให้เกิดรอยแยกทางความทรงจำที่ยังไม่อาจหาจุดบรรจบได้ระหว่างสถาบันกษัตริย์ รัฐ และนักศึกษาปัญญาชน (ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของคนชั้นกลางในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาฯ) จนส่งผลทำให้โครงการอนุสรณ์สถานฯ ถูกระงับไป25

โครงการก่อสร้าง “อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา” จะได้รับการรื้อฟื้นขึ้นใหม่อย่างจริงจังอีกครั้ง หลังเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ในปี พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งเป็นอีกครั้งหนึ่งที่คนชั้นกลางได้แสดงพลังเพื่อต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยกลาง
ถนนราชดำเนิน หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว กระแสเรียกร้องเพื่อที่จะให้มีการบรรจุความทรงจำของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา และพฤษภาทมิฬลงไปบนถนนราชดำเนินก็เพิ่มมากขึ้นโดยลำดับ ในที่สุด “อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา” ก็ทำก่อสร้างแล้วเสร็จ บนพื้นที่หัวมุมของสี่แยกคอกวัว ริมถนนราชดำเนินกลาง ได้มีการทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔26

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแง่การออกแบบสถาปัตยกรรมแล้ว คงต้องกล่าวว่า อนุสรณ์สถานแห่งนี้ออกแบบโดยยังไม่สามารถที่จะบรรจุความทรงจำที่แสดงออกถึงพลังของมห
าชนที่ร่วมต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยได้ดีเพียงพอ ส่วนที่เป็นจุดเน้นสำคัญที่สุดของอนุสรณ์สถานคือสถูปวีรชน ซึ่งแสดงถึงนัยของการระลึกถึงต่อผู้เสียชีวิตในรูปแบบของสถูปเจดีย์ แน่นอนว่าเป็นการให้เกียรติต่อวีรชนที่เสียชีวิตไป แต่ข้อด้อยที่ปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจนของการเลือกใช้สัญลักษณ์สถูปเจดีย์คือ การหายไปของพลังมวลชนอันยิ่งใหญ่หลายแสนคนที่มารวมตัวกันบนถนนราชดำเนิน ด้วยเป้าหมายในการต่อต้านอำนาจเผด็จการทหาร เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย เพราะสถูปเจดีย์เป็นสัญลักษณ์ที่อิงอยู่กับคติทางพุทธศาสนา ทำให้เมื่อเรามองดูสถูปเจดีย์จึงมักเกิดความรู้สึกไปในทางสงบนิ่งและปล่อยว่าง มากกว่าที่จะรู้สึกถึงพลังอันเร่าร้อนและรุนแรงของมหาชนที่ลุกฮือขึ้นต่อสู้กับเผด็จ
การ

แม้ว่าคนชั้นกลางจะสามารถพลักดันให้เกิดกระแสสังคมในการบรรจุความทรงจำของตนเองลงบนถ
นนราชดำเนินได้ และสามารถสร้างอำนาจต่อรองทางการเมืองของกลุ่มชนชั้นกลางได้มากขึ้นนับตั้งแต่นั้นมา
แต่อนุสรณ์สถานแห่งนี้ก็ได้ละเลยในการบรรจุความทรงจำที่สำคัญที่สุดลงไปคือ พลังอันยิ่งใหญ่ของมหาชนและจิตสำนึกประชาธิปไตยที่เร่าร้อนของคนรุ่นหนุ่มสาวบนถนนรา
ชดำเนินในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖

สาเหตุประการหนึ่ง (ที่สำคัญที่สุดในทัศนะผู้เขียน) ซึ่งทำให้ความทรงจำที่สำคัญนี้หายไปจาก “อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา” คือ ชัยชนะของมวลชนในเหตุการณ์ดังกล่าว ส่วนหนึ่งได้รับการอธิบายภายใต้ความทรงจำอีกชุดหนึ่ง ที่ดูเสมือนว่ากำลังแย่งชิงความทรงจำหลักของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ไปแล้วคือความทรงจำเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในการยุติการนองเลือดในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา


ราชาชาตินิยมประชาธิปไตย: ชัยชนะของสถาบันกษัตริย์บนถนนราชดำเนิน

สิ่งที่น่าสังเกตมากที่สุดต่อกระบวนการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยของคนชั้นกลางใหม่
ในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ คือในการต่อสู้กับเผด็จการทหารที่ยึดครองอำนาจรัฐ กลุ่มคนชั้นกลางใหม่เหล่านี้กลับเลือกใช้สัญลักษณ์ของ “สถาบันกษัตริย์” มาเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อสู้กับอำนาจรัฐ ซึ่งทำให้ไม่เพียงแต่รัฐบาลเผด็จการทหารเท่านั้นที่อาศัยอ้างอิงความชอบธรรมจาก “สถาบันกษัตริย์” แต่ขบวนการนักศึกษาปัญญาชนคนชั้นกลางที่เรียกร้องประชาธิปไตยก็มีบทบาทสำคัญไม่แพ้กั
นในการยก “สถาบันกษัตริย์” ให้สูงเด่นมากยิ่งขึ้น

การยกพระราชดำรัสเฉพาะบางตอนในกรณีสละราชสมบัติของรัชกาลที่ ๗ ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการต่อต้านเผด็จการทหาร การหวังพึ่งพระบารมีโดยนำพระบรมฉายาลักษณ์มาเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้ จนมาถึงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสผ่านทางวิทยุและโทรทัศน์ใน
ตอนหัวค่ำของวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เพื่อให้ทุกฝ่ายระงับความรุนแรง และทรงแต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี27 เหล่านี้ได้กลายเป็นความทรงจำกระแสหลักอันหนึ่งที่ในบางมุมก็เสมือนว่าสอดคล้องและหน
ุนเสริมกับความทรงจำว่าด้วยพลังมวลชนต่อสู้เผด็จการ แต่ในอีกแง่หนึ่ง ความทรงจำนี้ก็กลับแย่งชิงอำนาจนำในการอธิบายเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ให้หลุดออกจากมือของประชาชนไปด้วยในเวลาเดียวกัน

การแย่งชิงความทรงจำในลักษณะดังกล่าว ในทัศนะผู้เขียนเห็นว่า เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา ไม่สามารถแสดงความทรงจำของพลังมวลชนออกมาได้อย่างชัดเจน

“สถาบันกษัตริย์” ในบริบทสังคมนี้ แม้ในทางทฤษฎีจะเป็นกษัตริย์ที่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แต่ด้วยบทบาทในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ที่ผนวกเข้ากับโครงการพระราชดำริที่เข้าไปแก้ไขปัญหาแบบโดยตรงกับประชาชน ก็ทำให้ “สถาบันกษัตริย์” มีพระราชอำนาจมากกว่าที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญมากนัก

ประจักษ์ ก้องกีรติ ได้ตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า คุณูปการที่สำคัญของปัญญาชนคนชั้นกลางในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ คือการสร้างวาทกรรมพระราชอำนาจนำให้เกิดขึ้นแก่สถาบันกษัตริย์ โดยเรียกว่าเป็นวาทกรรม “ราชาชาตินิยมประชาธิปไตย” อันเกิดขึ้นจากการผสมระหว่างวาทกรรม “ราชาชาตินิยม” กับวาทกรรม “กษัตริย์ประชาธิปไตย”28

วาทกรรมราชาชาตินิยม คือความทรงจำว่าด้วยพระอัจฉริยภาพของรัชกาลที่ ๕ ในการรักษาเอกราชของสยามไว้ได้จากการคุกคามของมหาอำนาจยุโรป พร้อมๆ ไปกับการนำพาประเทศไปสู่ความศิวิไลซ์ทัดเทียมนานาอารยประเทศ29

ส่วนวาทกรรมกษัตริย์ประชาธิปไตย ก็คือความทรงจำที่ว่าด้วยประชาธิปไตยมิได้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ แต่เกิดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว และจุดเน้นหลักคือความเป็นนักประชาธิปไตยของรัชกาลที่ ๗ ผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่คนไทย ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในช่วงก่อนนี้

เมื่อพิจารณากระแสความทรงจำแบบ “ราชาชาตินิยมประชาธิปไตย” แล้วมองย้อนกลับมาดูปฏิบัติการในเชิงรูปธรรมที่ปรากฏบนถนนราชดำเนินก็จะเห็นว่า มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างชัดเจน

ความสุกงอมของความทรงจำว่าด้วยกษัตริย์ประชาธิปไตยหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาฯ ได้แสดงออกมาให้เห็นผ่านการปรากฏขึ้นของอนุสาวรีย์รัชกาลที่ ๗ หน้าอาคารรัฐสภาที่สร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ อันเป็นการฝังรากทางความคิดว่าด้วยกำเนิดประชาธิปไตยโดยการพระราชทานของพระองค์ (มิใช่มาจากคณะราษฎร) ได้อย่างมั่นคงยิ่ง จวบจนกระทั่งในปัจจุบัน

ในขณะเดียวกัน ความทรงจำว่าด้วยการนำพาประเทศรอดจากการเป็นอาณานิคมและนำความศิวิไลซ์มาให้แก่สยาม ก็ถูกแสดงผ่านสิ่งก่อสร้างต่างๆ บนถนนราชดำเนิน โดยเฉพาะในส่วนถนนราชดำเนินนอก ที่มิได้ถูกลบทำลายไปในสมัยคณะราษฎร ไม่ว่าจะเป็นพระบรมรูปทรงม้า พระราชวัง วัง ตำหนัก พระที่นั่งอนันตสมาคม ฯลฯ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นเครื่องยืนยันที่ตอกย้ำอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งของคว
ามทรงจำดังกล่าว นอกเหนือไปจากที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในตำราประวัติศาสตร์

เหตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี ๒๕๓๕ เป็นเครื่องยืนยันได้ชัดเจนที่สุดอีกครั้งของบทบาทอำนาจของ “สถาบันกษัตริย์” เมื่อพระองค์ได้ทรงเข้ามาทำหน้าที่ขจัดความขัดแย้งระหว่าง “รัฐ” กับ “คนชั้นกลาง” เพียงแค่พระองค์มีพระราชดำรัส ความขัดแย้งต่างๆ ในสังคมก็พร้อมที่จะสงบลงอย่างราบคาบ

“สถาบันกษัตริย์” มีสถานะแบบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นดั่งสมมติเทพ ที่ทรงคุณธรรมและจริยธรรม พระองค์จะทรงคอยถ่วงดุลและทัดทานอำนาจที่ฉ้อฉลของนักการเมือง และผลักดันให้เกิดประชาธิปไตยที่ใสสะอาด มีจริยธรรม โดยพระองค์จะสถิตอยู่เหนือความขัดแย้งและการเมือง

“สถาบันกษัตริย์” ได้กลายมาเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในโครงสร้างอำนาจของสังคมไทย เป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็นทุกอย่างของสังคมไทย นโยบายต่างๆ ของภาครัฐ ในยุคนี้ ส่วนมากจะต้องอาศัยอ้างอิงพระบารมีและแนวทางที่พระองค์พระราชทานมาให้เพื่อใช้เป็นแน
วทางในการขับเคลื่อน ในหลายๆ กรณี หาก “รัฐ” ขับเคลื่อนนโยบายด้วยตนเองจะไม่สามารถดำเนินการได้ แต่หากน้อมนำพระราชดำริมาเป็นแนวทาง โครงการนั้นจะมีความราบรื่นเสมอ อาจกล่าวได้ว่า อำนาจ “รัฐ” ในสังคมไทยปัจจุบันมิใช่ส่วนสำคัญของโครงสร้างอำนาจในสังคมไทยอีกต่อไป แต่เป็น “สถาบันกษัตริย์” ต่างหากที่สำคัญที่สุดของโครงสร้างอำนาจในสังคมไทย เป็นส่วนยอดสุดของปิรามิดแห่งอำนาจ ลักษณะโครงสร้างอำนาจในแบบนี้อาจจะเป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมไทยกำลังได้ยินบ่อยมากขึ้
นคือ “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ”

สิ่งนี้ยืนยันได้ชัดเจนจากการที่รัฐบาลเริ่มจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อดำเนินโครง
การพระราชดำริเป็นการเฉพาะนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นต้นมา30 และเพิ่มงบประมาณมากขึ้นทุกปี นโยบายรัฐเริ่มผนวกรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับโครงการพระราชดำริมากขึ้นๆ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นได้ชัดถึงพระราชอำนาจที่สูงยิ่งของ “สถาบันกษัตริย์” ในสังคมไทยปัจจุบัน

การปรากฏตัวขึ้นของคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เพื่อเข้ามาทำหน้าที่ในการดูแลทิศทางการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นรูปธรรมที่แสดงถึงการให้ความสำคัญต่อการสร้างและตอกย้ำความทรงจำที่มีศูนย์กลางค
ือสถาบันกษัตริย์

หากพิจารณาแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ จะพบว่ามีเป้าหมายหลักๆ คือ การเปิดมุมมองต่อโบราณสถานสำคัญระดับชาติ (ซึ่งส่วนใหญ่คือ วัด วัง สถานที่ราชการ ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ จนถึงในสมัยรัชกาลที่ ๕) การเปิดพื้นที่สีเขียว (ทำสวนสาธารณะ) และลดความแออัดภายในพื้นที่ลงด้วยการย้ายสถานที่ราชการออก31

ภาพสะท้อนของแนวคิดนี้ถูกถ่ายทอดให้เห็นชัดที่สุดในแผนการอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถาน
ภายในกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อคราวฉลองกรุงครบรอบ ๒๐๐ ปีในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ซึ่งประกอบด้วยการอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์โบราณสถาน ๙ โครงการ การรื้อฟื้นโบราณสถาน ๒ โครงการ และอีกหลายโครงการย่อย32 ทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระราชวัง วัด และโบราณสถานสำคัญที่เป็นมรดกแบบ “วัฒนธรรมชั้นสูง” เกือบทั้งหมด

การรื้อโรงภาพยนตร์เฉลิมไทยในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เพื่อเปิดมุมมองต่อโลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม และการสร้างลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ขึ้นมาแทน เป็นหมุดหมายสำคัญอีกชิ้นที่แสดงให้เห็นพระราชอำนาจและความทรงจำแบบราชาชาตินิยมบนถน
นราชดำเนิน ซึ่งกำลังเบียดขับความทรงจำของคณะราษฎร (สัญลักษณ์คือโรงภาพยนตร์เฉลิมไทยที่ถูกรื้อไป) ที่เหลือเพียงน้อยนิดให้ยิ่งตกพ้นเวทีแห่งความทรงจำของสังคมออกไปทุกทีๆ

การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ในตึกกรมโยธาธิการเดิม บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ใน พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นสัญลักษณ์ของการตอกย้ำวาทกรรมกษัตริย์ประชาธิปไตยของรัชกาลที่ ๗ อีกครั้งลงบนพื้นที่ถนนราชดำเนินกลาง

สิ่งที่น่าสังเกตที่สุดที่ปรากฏขึ้นอย่างมากและถี่ขึ้นทุกทีบนถนนราชดำเนินคือ การก่อสร้างซุ้มเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวาระโอกาสต่างๆ

ธรรมเนียมการสร้างซุ้มเฉลิมพระเกียรติอย่างเป็นกิจลักษณะนั้น อาจกล่าวได้ว่าเริ่มขึ้นมาจากการสร้างซุ้มรับเสด็จในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อคราวรับเสด็จกลับจากสิงค์โปร์ปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ในครั้งนั้น หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างจัดตกแต่งซุ้มรับเสด็จหลายๆ แห่ง โดยเฉพาะตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา33 แต่ครั้งที่สำคัญและยิ่งใหญ่มากที่สุดคือ การสร้างซุ้มรับเสด็จรัชกาลที่ ๕ จากการเสด็จเยือนยุโรปครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๐

ซุ้มรับเสด็จเฉพาะที่เป็นซุ้มหลักในคราวนั้นมีทั้งหมด ๑๐ ซุ้ม ตั้งวางไว้ตลอดแนวถนนราชดำเนิน โดยแต่ละซุ้มจะรับผิดชอบโดยกระทรวงต่าง เช่น ซุ้มกระทรวงยุติธรรมที่ถนนราชดำเนินกลางถัดจากสี่แยกถนนดินสอ ซุ้มกระทรวงนครบาลเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ซุ้มกระทรวงธรรมการบริเวณสี่แยกถนนจักรพรรดิ ซุ้มกระทรวงเกษตราธิการบริเวณเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ เป็นต้น34

การสร้างซุ้มรับเสด็จในครั้งนั้นได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจสำคัญต่อการสร้างซุ้มเฉลิม
พระเกียรติในรัชกาลปัจจุบัน เช่น ในคราวพระราชพิธีกาญจนาภิเษกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙35 และในคราวพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีในปี พ.ศ. ๒๕๔๙

ซุ้มเฉลิมพระเกียรติเหล่านี้ปรากฏอยู่ในทุกมุมของถนนราชดำเนิน และยังปรากฏอยู่ทั่วไปในบริเวณเกี่ยวเนื่อง ซุ้มเหล่านี้คือสัญลักษณ์แห่งพระราชอำนาจที่แผ่กระจายครอบคลุมไปทั่วถนนราชดำเนิน ซึ่งเป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงพระราชอำนาจของสถาบันกษัตริย์ที่แผ่ไปทั่วประเทศไทย ณ ปัจจุบันด้วยเช่นกัน

ปรากฏการณ์ที่ยืนยันชัดเจนถึงพระราชอำนาจ ในกรณีเฉพาะบนถนนราชดำเนินคือ การเกิดขึ้นของโครงการสาธารณะมากมายโดยรัฐ ณ ปัจจุบัน ที่ต้องอาศัยพึ่งพระบารมีในนามของ “โครงการเฉลิมพระเกียรติ” เพื่อผลักดันให้โครงการสามารถเกิดขึ้นได้ เช่น สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ในพื้นที่ชุมชนป้อมมหากาฬ36 สวนเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา บริเวณพื้นที่กรมประชาสัมพันธ์เดิม37 และโครงการก่อสร้างอาคารศาลฎีกาใหม่ ด้านตะวันตกของท้องสนามหลวง ริมถนนราชดำเนินใน38 เป็นต้น


พระราชอำนาจบนถนนราชดำเนิน: สัญลักษณ์และความหมาย

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า พระราชอำนาจของ “สถาบันกษัตริย์” ที่แสดงออกมา จะมีสถานะเช่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงเป็นดั่งสมมติเทพที่ทรงคุณธรรมและจริยธรรม ด้วยสถานภาพดังกล่าวนี้เอง ที่พระองค์จะทรงคอยทำหน้าที่ถ่วงดุลอำนาจที่ฉ้อฉลของนักการเมืองและระบอบการเมืองที่
คนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า เต็มไปด้วยความไม่ซื่อสัตย์ คอรัปชั่น และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว พระองค์จะทรงทำหน้าที่ผลักดันให้เกิดประชาธิปไตยแบบใสสะอาด มีจริยธรรม และคุณธรรม โดยพระองค์จะสถิตอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง

ภาพลักษณ์ของพระราชอำนาจในลักษณะดังกล่าว ทำให้คนส่วนใหญ่มิได้ทันคิดว่า พระราชอำนาจก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งของอำนาจภายใต้โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ป
รากฏอยู่ในสังคมไทย คนส่วนใหญ่เชื่อว่าพระราชอำนาจอยู่นอกเหนือไปจากวงจรอำนาจทั่วไปทางการเมือง ดำรงอยู่ในสถานภาพศักดิ์สิทธิ์ ภายใต้กรอบความคิดที่ยึดโยงอยู่กับภาพลักษณ์ของกษัตริย์ในแบบพระเจ้าจักรพรรดิราชในค
ติแบบโบราณ

ภาพลักษณ์ของพระราชอำนาจในลักษณ์เช่นนี้ ได้รับการตอกย้ำและผลิตซ้ำให้ปรากฏอย่างชัดเจนในพื้นที่สาธารณะต่างๆ โดยแสดงออกมาในรูปปรำปราคติแบบจารีตของสังคมไทย ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือแนวคิดในการก่อสร้างซุ้มเฉลิมพระเกียรติในคราวพระราชพิธี
กาญจนาภิเษก

ในครั้งนั้นคณะผู้จัดสร้างได้กำหนดให้มีการก่อสร้างซุ้มเฉลิมพระเกียรติหลัก ๗ ซุ้ม โดยมีแนวคิดในการออกแบบที่อิงมาจากคติความเชื่อเรื่อง “จักรพรรดิราช” ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา จักรพรรดิราชในทางพุทธศาสนานั้นคือพระมหากษัตริย์ที่ทรงคุณธรรม อันประกอบด้วยทศพิธราชธรรมเป็นหลัก39 เมื่อพระมหากษัตริย์พระองค์ใดได้รับการยกย่องให้เป็นพระจักรพรรดิราชก็จะปรากฏ “แก้ว ๗ ประการ” ขึ้นประกอบพระบารมี “แก้ว ๗ ประการ” นั้นประกอบไปด้วย จักรรัตนะ (จักรแก้ว) หัตถีรัตนะ (ช้างแก้ว) อัศวรัตนะ (ม้าแก้ว) มณีรัตนะ (มณีแก้ว) อิตถีรัตนะ (นางแก้ว) คหปติรัตนะ (ขุนคลังแก้ว) และสุดท้ายคือ ปริณายกรัตนะ (ขุนพลแก้ว)40

จะเห็นได้ว่า ภาพลักษณ์ของพระราชอำนาจที่ปรากฏในความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมไทย ได้ถูกสื่อความใหม่ผ่านคติเก่าได้อย่างลงตัวและแนบเนียนยิ่ง ฉะนั้นจึงไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า เหตุใดหากเปรียบเทียบกับซุ้มรับเสด็จรัชกาลที่ ๕ ในคราวเสด็จกลับจากยุโรปครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐ นั้น ซุ้มเฉลิมพระเกียรติในยุคปัจจุบันจึงดู “ย้อนยุค” มาก และหันกลับไปใช้คติโบราณ ที่แม้แต่รัชกาลที่ ๕ เองก็ยังไม่ได้ทรงใช้อีกต่อไปแล้ว

ซุ้มรับเสด็จในสมัยรัชกาลที่ ๕ ส่วนใหญ่เป็นซุ้มแบบทันสมัยด้วยรูปทรงสถาปัตยกรรมยุโรป บางซุ้มถูกสร้างขึ้นด้วยรูปแบบที่ล้ำสมัยอย่างไม่น่าเชื่อ นั่นก็เป็นเพราะว่าการจัดวางพระราชอำนาจระหว่างรัชกาลที่ ๕ กับรัชกาลปัจจุบันมีลักษณะที่แตกต่างกัน

รัชกาลที่ ๕ ทรงเป็นกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่กำลังนำพาประเทศก้าวสู่ความเป็นสมัยใหม่ที่มี
สังคมยุโรปเป็นแบบจำลอง ภายใต้บริบทดังกล่าว คติจารีตแบบโบราณถูกมองด้วยสายตาดูแคลน เป็นของล้าหลังไร้อารยะ โลกใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีต้นแบบคือความเจริญสมัยใหม่แบบยุโรป

ในขณะที่ปัจจุบัน แม้ว่าโลกจะก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นกว่าในสมัยรัชกาลที่ ๕ อย่างเทียบกันไม่ได้ แต่สถาบันกษัตริย์ในสังคมไทยปัจจุบันอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ การบริหารราชการแผ่นดินกระทำผ่านองค์กรของรัฐที่มีที่มาจากอำนาจของประชาชนทุกคนในสั
งคมไทย ผ่านกระบวนการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย

สถาบันกษัตริย์จำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจไปในทิศทางใหม่ โดยจัดวางพระราชอำนาจให้สัมพันธ์กับคติธรรมราชาและจักรพรรดิราช โดยเน้นอำนาจศักดิ์สิทธิ์และพระบารมีตามคติแบบโบราณแทน ดังนั้น สัญลักษณ์ที่แสดงออกจึงหลีกไม่พ้นการยึดโยงกับจารีตประเพณีโบราณต่างๆ ดังที่ปรากฏให้เห็นได้จากซุ้มเฉลิมพระเกียรติในคราวพระราชพิธีกาญจนาภิเษก และยังปรากฏให้เห็นอีกครั้งในคราวฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีที่ผ่านมาด้วย

นอกจากซุ้มเฉลิมพระเกียรติดังกล่าวแล้ว สิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่ถูกสร้างขึ้นก็จะเลือกใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบจารีตโบราณมาเป็นแนวทางหลักในการออ
กแบบ ตัวอย่างล่าสุดคือ โครงการก่อสร้างอาคารศาลฎีกาหลังใหม่ บริเวณสนามหลวง ที่อยู่ภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา โดยจะทำการรื้ออาคารศาลเก่าที่เป็นตัวแทนความทรงจำของยุคคณะราษฎรออกไป และสร้างอาคารที่เป็นตัวแทนความทรงจำใหม่ลงไปแทน โดยรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ถูกเลือกมาใช้คือ “รูปแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์” รูปทรงอาคารประหนึ่งว่าจะสร้างให้อาคารศาลแห่งนี้เป็นดั่งวิมาน ตัวอาคารจะเต็มไปด้วยลวดลายและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบจารีตในอดีต ซึ่งเป็นการย้อนยุคสมัยทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างยิ่ง


ราชดำเนิน: การเดินทางเพื่อกลับไปที่เดิม ?

แนวทางสำคัญของรัชกาลที่ ๗ ในการประคับประคองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือ ทรงพยายามนำเสนอการปฏิรูปโครงสร้างภายในของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์บางประการ เพื่อตอบสนองต่อปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้ามากขึ้น โดยพระองค์ได้ทรงมีแนวคิดที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ

เป็นที่รับรู้และไม่ต้องสงสัยแล้วว่า รัฐธรรมนูญฉบับที่ตั้งใจจะพระราชทานนั้น มิได้เป็นรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยตามความเข้าใจทั่วไปแต่อย่างใดเลย (แม้จะมีนักวิชาการหัวอนุรักษ์นิยมบางกลุ่มพยายามจะตีความไปแบบนั้น) เป็นแต่เพียงความพยายามที่จะปฏิรูปความสัมพันธ์เชิงอำนาจของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย
์ใหม่ โดยลดแรงปะทะทางการเมืองที่มาสู่กษัตริย์ลง เบี่ยงกษัตริย์ออกจากการตัดสินใจเชิงนโยบายของรัฐโดยตรง และขยายฐานของระบอบฯ ด้วยการเพิ่มการมีส่วนร่วมทางการเมืองของฝ่ายต่างๆ ให้มากขึ้นกว่าเดิมเพียงเล็กน้อย41

แบบจำลองโครงสร้างอำนาจของกษัตริย์ที่ปรากฏอยู่ในโครงร่างรัฐธรรมนูญที่พระองค์มีพระ
ราชดำริที่จะพระราชทานแก่ราษฎรในงานฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปีนั้น โปรดเกล้าฯ ให้ นายเรย์มอนด์ บี สตีเวนส์ (Raymond B. Stevens) และพระยาศรีวิสารวาจา ร่างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ซึ่งได้ยกกษัตริย์ออกจากการบริหารราชการแผ่นดินทางตรง โดยมีนายกรัฐมนตรีและองค์กรอื่นๆ มารับภาระนี้แทน42

อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาให้ดีก็จะพบว่า กษัตริย์ก็ยังคงอยู่เบื้องหลังและกุมอำนาจขั้นสุดท้ายไว้อยู่นั่นเอง เป็นแต่เพียงมีองค์กรอื่นขึ้นมาออกหน้ารับผิดชอบแทนเท่านั้น

ในการเดียวกันนี้ รัชกาลที่ ๗ ทรงพยายามนำเสนอภาพลักษณ์และบทบาทใหม่ของสถาบันกษัตริย์ในมิติของพระราชกฤษฎาภินิหาร
และพระบรมเดชานุภาพตามอุดมคติแบบจารีตของสยาม (จักรพรรดิราช) ที่เน้นบารมีและความศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์ ให้หวนกลับมามีความหมายขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยเข้ามาแทนที่ภาพลักษณ์ของกษัตริย์ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเพิ่งถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕

ความสำคัญของภาพลักษณ์กษัตริย์ในแบบจารีตคือการมีพระราชอำนาจอันจำกัด แต่มีพระบารมีอันไพศาล ความรู้สึกของราษฎรต่อกษัตริย์ในอุดมคตินี้ จะมีลักษณะน่าเคารพ ยำเกรง หรือออกไปทางเกรงกลัว กษัตริย์แบบนี้จะมีความยิ่งใหญ่ เปรียบเสมือนเทวดา อยู่เหนือพ้นสภาพจากราษฎรทั่วไป ซึ่งเข้ากันได้ดีกับโครงสร้างอำนาจใหม่ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับที่รัชกาลที่ ๗ จะพระราชทาน

นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้วิเคราะห์อนุสาวรีย์ปฐมบรมราชานุสรณ์เชิงสะพานพุทธ (รัชกาลที่ ๗ ทรงมีพระราชดำริให้สร้างไว้) อย่างน่าคิดว่า ภาพลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ที่ปรากฏในปฐมบรมราชานุสรณ์นั้นเน้นพระเกียรติแบบจารีต เป็นกษัตริย์ที่เน้นอำนาจบารมีและความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่รัชกาลที่ ๗ ทรงพยายามนำเสนอขึ้นใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับโครงสร้างอำนาจในรัฐธรรมนูญฉบับพระราชทาน43

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อที่จะตั้งเป็นข้อสังเกตว่า โครงสร้างอำนาจแบบที่รัชกาลที่ ๗ พยายามจะพระราชทานแก่สังคมไทยเมื่อ ๗๕ ปีที่ผ่านมานั้น มีความสอดคล้องกันอย่างน่าประหลาด (แม้จะไม่ทั้งหมด) กับโครงสร้างอำนาจที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทยปัจจุบัน ที่สำคัญ ภาพลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ที่รัชกาลที่ ๗ ทรงพยายามสร้างขึ้นนั้นก็เป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ในปัจจุบัน

หากเราลองเดินไปตามเส้นทางถนนราชดำเนิน เริ่มตั้งแต่ราชดำเนินในจนไปสุดที่ปลายทาง คือถนนราชดำเนินนอก โดยเดินไปพร้อมๆ กับมองหาความทรงจำและอำนาจที่แฝงเร้นอยู่ในองค์ประกอบสองข้างของถนน เมื่อเดินไปจนสุดถนน เราอาจจะพบความจริงว่า ตลอดระยะเวลา ๗๕ ปีที่ผ่านมาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ สังคมไทยกำลังเดินทาง “กลับไปสู่ที่เดิม”44


1 พึงระลึกไว้เสมอว่า ภาษาสถาปัตยกรรมเป็นภาษาที่ต้องอาศัยการตีความมาก เมื่อต้องตีความมากก็ย่อมมีโอกาสผิดพลาดมากเช่นกัน ดังนั้น การตีความที่ปรากฏในงานศึกษาชิ้นนี้จึงเป็นเพียงแนวทางหนึ่งของความพยายามทำความเข้า
ใจภาษาสถาปัตยกรรมเท่านั้น มิใช่ข้อสรุปที่แน่นอนและลงตัวแล้วแต่อย่างใด

2 วลีนี้ผู้เขียนขอยืมมาจากคำโปรยบนหน้าปกหนังสือ Walking tour ทอดน่องท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์การเมืองไทย เขียนโดยนิภาพร รัชตพัฒนากุล และเทอดพงศ์ คงจันทร์ พิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน ปี ๒๕๔๘

3 หจช., ร.๕ ยธ. ๙/๔๑ เรื่อง ร่างประกาศตัดถนนราชดำเนินนอก ๑ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๒.

4 ดูรายละเอียดใน ชาตรี ประกิตนนทการ, “สมบูรณาญาสิทธิราชย์และจักรวาลวิทยาสมัยใหม่ในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร,” ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๙ (กรกฎาคม ๒๕๔๖): ๘๐ - ๙๖.

5 ในวงวิชาการปัจจุบัน เป็นที่เข้าใจว่า “สยามเก่า” คือยุคสมัยก่อนการปฏิรูปประเทศในรัชกาลที่ ๕ และ “สยามใหม่” คือยุคหลังการปฏิรูปในรัชกาลที่ ๕ แต่หากย้อนกลับในช่วงหลังปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ คำว่า “สยามเก่า” ใช้ในความหมายถึงยุคก่อนการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ที่ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ขณะที่ “สยามใหม่” จะหมายถึงยุคหลังปี ๒๔๗๕ ที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย (ซึ่งในบทความจะใช้ในความหมายตามนัยที่สองนี้) ตัวอย่างสำคัญของการใช้ตามนัยที่สอง ได้แก่งานเขียนของ จำกัด พลางกูร เรื่อง “ปรัชญาของสยามใหม่” (ตีพิมพ์ปี พ.ศ. ๒๔๗๙) ต่อมาภายหลัง เมื่อมีการเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย ผู้นำคณะราษฎรจึงหันมาเรียกยุคหลังปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ว่ายุค “ไทยใหม่” แทน

6 ดูรายละเอียดใน ชาตรี ประกิตนนทการ, “ศิลปะคณะราษฎร,” ฟ้าเดียวกัน ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๐): ๙๐ - ๑๑๑.

7 สำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการจัดงานวันชาติ ครั้งที่ ๑ เมื่อ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ อ้างถึงใน มาลินี คุ้มสุภา, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกับความหมายที่มองไม่เห็น (กรุงเทพฯ: วิภาษา, ๒๕๔๘), หน้า ๑๐๕.

8 ปีกทั้งสี่ด้านของอนุสาวรีย์สูง ๒๔ เมตร รัศมีของอนุสาวรีย์ยาว ๒๔ เมตร สื่อถึงวันที่ ๒๔ พานรัฐธรรมนูญซึ่งตั้งอยู่บนป้อมกลางของอนุสาวรีย์สูง ๓ เมตร หมายถึงเดือน ๓ คือเดือนมิถุนายน (ตามปฏิทินเก่า) ปืนใหญ่ที่ฝังรอบอนุสาวรีย์มี ๗๕ กระบอก หมายถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๕ รูปพระขรรค์หกเล่มที่ประดับอยู่บนอกเลาประตูรอบป้อมกลาง หมายถึงหลักหกประการของคณะราษฎร ดูรายละเอียดใน กรมโฆษณาการ, เรื่องการเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (กรุงเทพฯ: กรมโฆษณาการ, ๒๔๘๓), หน้า ๒ - ๓.

9 ดูรายละเอียดใน ชาตรี ประกิตนนทการ, การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม (กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๘), หน้า ๒๙๙ - ๓๒๒.

10 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คืออะไร?,” ฟ้าเดียวกัน ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ (มกราคม - มีนาคม ๒๕๔๙): ๙๐.

11 อย่างไรก็ตาม ควรตั้งเป็นข้อสังเกตว่า การสร้างความทรงจำใหม่ของคณะราษฎรบนถนนราชดำเนินดูจะไม่มีลักษณะหักล้างสัญลักษณ์แห่
งความทรงจำในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มากนัก เพราะสัญลักษณ์ดูจะแบ่งพื้นที่กันอย่างชัดเจน โดยความทรงจำแบบคณะราษฎรจะปรากฏอยู่บนถนนราชดำเนินกลาง ส่วนความทรงจำแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ยังคงอยู่ที่ถนนราชดำเนินนอก

12 ณัฐพล ใจจริง, “การรื้อสร้าง ๒๔๗๕: ฝันจริงของนักอุดมคติน้ำเงินแท้,” ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๒๗ ฉบับที่ ๒ (ธันวาคม ๒๕๔๘): ๙๓ - ๙๔.


13 ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช, ประชุมปาฐกถา และคำอภิปราย พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๕๐๙ (พระนคร: รวมสาส์น, ๒๕๐๙), หน้า ๑๕๔.

14 แมลงหวี่ (นามแฝง), เบื้องหลังประวัติศาสตร์ เล่ม ๑ อ้างถึงใน ณัฐพล ใจจริง, “การรื้อสร้าง ๒๔๗๕: ฝันจริงของนักอุดมคติน้ำเงินแท้,” ศิลปวัฒนธรรม,: ๙๗.

15 หจช., (๑) มท. ๑.๑.๓.๓/๑ เรื่อง อนุสสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖, หน้า ๑.

16 อนุสาวรีย์สำคัญๆ ในชุด “พระบิดา” อาทิเช่น อนุสาวรีย์กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน หน้าการรถไฟแห่งประเทศไทย อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หน้ากระทรวงมหาดไทย อนุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นต้น

17 ชนิดา ชิตบัณฑิตย์, โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: การสถาปนาพระราชอำนาจนำในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ๒๕๕๐), หน้า ๖๓.

18 ดูรายละเอียดการวิเคราะห์เรื่องนี้ได้ใน สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คืออะไร?,” ฟ้าเดียวกัน: ๖๗-๙๓.

19 ทักษ์ เฉลิมเตียรณ, การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ๒๕๔๘), หน้า ๓๕๒ - ๓๖๔.

20 เพิ่งอ้าง, หน้า ๓๖๕.

21 ดูรายละเอียดใน พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๓ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๖ (กรุงเทพฯ: สำนักพระราชวัง, ๒๕๓๓).

22 เบเนดิก แอนเดอร์สัน, “บ้านเมืองของเราลงแดง: แง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐประหาร ๖ ตุลาคม,” ใน จาก ๑๔ ถึง ๖ ตุลา (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ๒๕๔๑), หน้า ๑๐๒ - ๑๑๖.

23 ไมเคิล ไรท์, “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย "อนุสาวรีย์โกหก" ที่ถูกดัดแปลงให้พูดความจริง,” ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๑๔, ฉบับที่ ๒ (ธันวาคม ๒๕๓๕): ๑๗๘ - ๑๘๑.

24 พิธีเปิดอนุสรณ์สถานวีรชนประชาธิปไตย ณ สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินกลาง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๔ (กรุงเทพฯ; บริษัทโรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด, ๒๕๔๔), หน้า ๑๐.

25 แม้ว่าความทรงจำที่เป็นบาดแผลใหญ่ของสังคมไทยในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ จะยังไม่ถูกสะสาง รวมทั้งยังเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่อยากลืม ดังนั้น มันจึงถูกกดทับและปิดบังไว้จนกระทั่งปัจจุบัน แต่ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นบทความแล้วว่า หากเมื่อใด โครงสร้างอำนาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นอยู่ ความทรงจำที่ถูกซุกไว้ใต้พรมชิ้นนี้ก็อาจพร้อมจะเผยตัวออกมาเรียกร้องขอที่ยืนบนหน้า
ประวัติศาสตร์เช่นกัน

26 พิธีเปิดอนุสรณ์สถานวีรชนประชาธิปไตย ณ สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินกลาง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๔, หน้า ๑๙.

27 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, “๑๔ ตุลา: บันทึกประวัติศาสตร์,” ใน จาก ๑๔ ถึง ๑๖ ตุลา, หน้า ๑๙๕ - ๑๙๖.

28 ประจักษ์ ก้องกีรติ, และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ: การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน ๑๔ ตุลาฯ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๘), หน้า ๕๓๓.


29 ดูแนวคิดดังกล่าวใน ธงชัย วินิจจะกูล, “ประวัติศาสตร์ไทยแบบราชาชาตินิยม,” ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๑ (พฤศจิกายน ๒๕๔๔): ๕๖ - ๖๕.

30 ชนิดา ชิตบัณฑิตย์, โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: การสถาปนาพระราชอำนาจนำในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, หน้า ๒๘๗.

31 ดูรายละเอียดใน โครงการกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่และการพลังงาน, ๒๕๓๙)

32 ดูรายละเอียดใน กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร, จดหมายเหตุการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ: สหประชาพาณิชย์, ๒๕๒๕).

33 ดู ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์, “เมื่อชาวสยามรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง,” สถาปนิก ฉบับ ๒๐๐ ปีรัตนโกสินทร์ (๒๕๒๕), หน้า ๙๔.

34 กรมศิลปากร, จดหมายเหตุการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากยุโรปครั้ง
หลัง ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐), หน้า ๒๘.

35 บัณฑิต ลิ่วชัยชาญ, ซุ้มเฉลิมพระเกียรติในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก (กรุงเทพฯ: เอส.ที.พี. เวิลด์มีเดีย, ๒๕๔๑), หน้า ๑๓ - ๑๔.

36 โครงการสวนสาธารณะบริเวณชุมชนป้อมมหากาฬนับเป็นความขัดแย้งยาวนานและยืดเยื้อ ระหว่างรัฐกับชุมชนในพื้นที่ ซึ่ง ณ ปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่ ภายใต้ความขัดแย้งยาวนานนั้น รัฐ (โดย กทม.) สามารถเข้าไปสร้างสวนสาธารณะได้แล้วเป็นบางส่วนบนพื้นที่ติดกับตัวป้อมมหากาฬ โดยดำเนินการภายใต้โครงการสวนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์

37 โครงการสวนเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษาเป็นโครงการที่คิดขึ้นใหม่ โดยเข้ามาแทนที่โครงการก่อสร้างอนุสรณ์สถานวีรชนประชาธิปไตยในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ แม้ว่าล่าสุด โครงการทั้งสองจะสามารถบรรลุข้อตกลงในเบื้องต้นว่าจะมีการแบ่งพื้นที่กัน และได้มีการวางศิลาฤกษ์อนุสรณ์สถานไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรูปธรรมใดๆ ที่สามารถยืนยันได้ชัดเจน ประเด็นนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการต่อสู้แย่งชิงกันระหว่างความทรงจำข
องคนชั้นกลางกับความทรงจำว่าด้วยสถาบันกษัตริย์บนพื้นที่ถนนราชดำเนิน

38 ดูรายละเอียดโครงการ ข่าวศาลยุติธรรม ปีที่ ๗ ฉบับพิเศษที่ ๗๙ วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๙: ๑.

39 เพิ่งอ้าง, หน้า ๑๖.

40 “ซุ้มเฉลิมพระเกียรติแก้ว ๗ ประการของจักรพรรดิราช,” ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๐ (สิงหาคม ๒๕๓๙), หน้า ๒๘ - ๓๑.

41 ดูรายละเอียดได้ในงานเขียนหลายชิ้น อาทิ เบนจามิน เอ. บัทสัน, อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม = The end of the Absolute Monarchy in Siam, แปลโดย พรรณงาม เง่าธรรมสารและคณะ (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ๒๕๔๓), หน้า ๑๘๓ - ๒๓๙., นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, การปฏิวัติสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ (กรุงเทพฯ: อมรินทร์, ๒๕๔๓), หน้า ๑๘๐ - ๒๑๘. และนิธิ เอียวศรีวงศ์, “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทย,” ศิลปวัฒนธรรม ปี ๑๕ ฉบับที่ ๓(มกราคม ๒๕๓๗): ๑๑๐ - ๑๑๔. เป็นต้น

42 ดู ร่างรัฐธรรมนูญของนายเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์ กับ พระยาศรีวิสารวาจา พ.ศ. ๒๔๗๔ ใน สนธิ เตชานันท์, แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (กรุงเทพฯ: โครงการผลิตเอกสารทางวิชาการ ภาควิชารัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๑๙), หน้า ๑๔๗ - ๑๕๐.

43 นิธิ เอียวศรีวงศ์, “สงครามอนุสาวรีย์กับรัฐไทย,” ชาติไทย เมืองไทย แบบเรียนและอนุสาวรีย์ (กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๓๘): หน้า ๙๒.

44 มีสิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนคิดว่ามีความสำคัญมากต่อทิศทางในปัจจุบันและอนาคตของถนนราชดำ
เนินคือ โครงการพัฒนาถนนราชดำเนินและพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อเล่นๆ ว่า “โครงการชองเอลิเซ่ไทย” ในทัศนะผู้เขียน โครงการนี้เป็นผลิตผลของกระแสทุนนิยม - การท่องเที่ยว ที่ปรากฏในสังคมไทยมายาวนาน (รูปธรรมที่ชัดเช่นคือการเกิดขึ้นของปีการท่องเที่ยวไทย พ.ศ. ๒๕๓๐) ทุนนิยม - การท่องเที่ยวที่ปรากฏบนถนนราชดำเนินพยายามจะแปลงความทรงจำต่างๆ บนถนนราชดำเนินมาเป็น “สินค้าทางวัฒนธรรม” ประเด็นคำถามที่น่าคิดคือ กระบวนการดังกล่าวนี้ต้องมีส่วนผสมเช่นไรจึงจะไม่เข้าไปทำลายมิติศักดิ์สิทธิ์ของควา
มทรงจำว่าด้วย “พระราชอำนาจ” การชลอโครงการชองเอลิเซ่ในยุครัฐบาลทักษิณ และการรัฐประหารรัฐบาลทักษิณ เมื่อ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ย่อมไม่ใช่จุดยุติของแนวคิดในการผสานทุนนิยม - การท่องเที่ยวลงบนความทรงจำบนถนนราชดำเนินแต่อย่างใด หากแต่เป็นการชลอตัวเพื่อหาส่วนผสมใหม่ที่ทุนนิยม - การท่องเที่ยวจะสามารถดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับความทรงจำว่าด้วยพระราชอำนาจ บนถนนราชดำเนินเท่านั้น หากโครงการนี้เกิดขึ้นจริง ย่อมส่งผลกระทบมหาศาลต่อรูปแบบใหม่ของ “ความทรงจำ” บนถนนราชดำเนิน แต่ ณ ขณะนี้ ผู้เขียนยังไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะวิเคราะห์ได้


ส่วนหนึ่งของภาพประกอบ


ไฟล์ภาพในบอร์ด


ถนนราชดำเนินในอดีต ราวทศวรรษที่ ๒๔๙๐
(ที่มา: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)



ไฟล์ภาพในบอร์ด


ไฟล์ภาพในบอร์ด


ถนนราชดำเนินสมัยรัชกาลที่ ๕ (บน) ถนนราชดำเนินนอก บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ (ล่าง) ถนนราชดำเนินใน บริเวณสะพานผ่านพิภพลีลา (ที่มา: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)


ไฟล์ภาพในบอร์ด


ไฟล์ภาพในบอร์ด


ตัวอย่างองค์ประกอบทางกายภาพที่แวดล้อมในบริเวณถนนราชดำเนินและใกล้เคียง สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (บน) พระที่นั่งอนันตสมาคม (ที่มา: ผู้เขียน) (ล่าง) พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต (ที่มา: หนังสือประมวลภาพวังและตำหนัก)

ที่มาจาก : เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน

01 ชาตรี ประกิตนนทการ : สถาปัตย์คณะราษฎร บนพื้นที่ศักดิ์สิทธิแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์

เมื่อวันที่ 15 .. 50 มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จัดงานเสวนา ครบรอบ 100 ปีปริทัศน์: รัฐธรรมนูญและกบฏปฏิวัติรัฐประหาร - การเมืองสยามประเทศไทยสมัยใหม่ พ..2454-2550’ ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และต่อจากนี้คือการถอดความและเรียบเรียงการบรรยายเรื่อง "สถาปัตยกรรมไทย: ภาพสะท้อนการเมืองในสยามประเทศไทย" โดยชาตรี ประกิตนนทการ

อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และมี ศรัณย์ ทองปาน เป็นผู้ดำเนินรายการ

0 0 0

ชาตรี ประกิตนนทการ

อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ศึกษาสถาปัตยกรรมจากกรณีเฉพาะที่เป็นอาคารสาธารณะ เนื่องจากอาคารสาธารณะคือสิ่งที่ผู้สร้างสื่อต้องการสื่อความหมายบางประการต่อสังคม โดยความหมายของสถาปัตยกรรมที่เป็นอาคารสาธารณะจะขยายคลุมไปถึงพื้นที่แวดล้อมอาคารด้วย ทั้งนี้ สถาปัตยกรรมที่เป็นอาคารสาธารณะมีความแตกต่างไปจากอนุสาวรีย์ตรงที่อนุสารีย์ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ทางการเมืองอยู่แล้ว แต่สำหรับงานสถาปัตยกรรมอาคารสาธารณะนั้น ปกติก็เห็นเป็นอาคารใช้งานเดินเข้าออกได้ตามปกติ จึงไม่รู้สึกอะไร ดังนั้น อาคารสาธารณะมีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ที่ซ่อนอย่างแนบเนียน การศึกษาจึงอาศัยการตีความเป็นหลัก

ภาพที่ 1 เมรุชั่วคราวของ 17 ผู้เสียชีวิตคราวปราบกบฎบวรเดช ณ ท้องสนามหลวง พ.ศ.2476

รูปแบบทางสถาปัตยกรรมคือเมรุชั่วคราวของผู้เสียชีวิตคราวปราบกบฎบวรเดช ณ ท้องสนามหลวง คือการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกทางรูปแบบสถาปัตยกรรมสาธารณะ จะเห็นว่าเมรุดังกล่าวสร้างเป็นรูปกล่อง ไม่มีองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมตามประเพณี (เช่น ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เพิ่มเติมโดยผู้รายงาน)

ภาพที่ 2: เมรุที่สร้างตามคติโบราณประเพณี ก่อน พ.ศ.2475

ทั้งนี้ การสร้างเมรุชั่วคราวดังกล่าวที่ทุ่งพระเมรุ (สนามหลวง) เดิมรัชกาลที่ 7 ไม่ทรงยินยอม แต่ทางคณะราษฎรยืนยันที่จะสร้างเมรุชั่วคราวบนทุ่งพระเมรุ รัชกาลที่ 7 จึงต้องทรงยินยอม แต่ระบุถ้อยคำด้วยท่วงทำนองว่า ไม่ได้เป็นพระราชประสงค์

พ.ศ. 2475 คือเส้นแบ่งในหลายๆ อย่าง สิ่งที่น่าจะเป็นเหตุผลที่รัชกาลที่ 7 ไม่โปรดให้สร้างเมรุชั่วคราวในพื้นที่ทุ่งพระเมรุนั้น เป็นเพราะพื้นที่นี้ถือว่าเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในวัฒนธรรม ในแง่พิธีศพ หัวใจอยู่ที่สนามหลวง และพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ทางวัฒนธรรมยังกินความกว้างไกลไปถึงคลองรอบกรุงซึ่งเลือดไพร่ห้ามตกในพื้นที่ เพราะเป็นพื้นที่ทางพิธีกรรมที่ใช้เฉพาะสำหรับกษัตริย์ ดังนั้นคราวสร้างเมรุชั่วคราวสำหรับ 17 ศพ ที่เสียชีวิตคราวปราบกบฎบวรเดชในพื้นที่ตรงนี้จึงเป็นการทำร้ายจิตใจฝ่ายเจ้ามาก เมรุชั่วคราวนี้จึงมีนัยยะทางสัญลักษณ์ที่รุนแรงและชัดเจนในการใช้พื้นที่สาธารณะ

อีกประการหนึ่ง ตั้งแต่หลัง พ.ศ. 2475 พานรัฐธรรมนูญได้ถูกยกขึ้นมาเหมือนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกอย่างหนึ่ง จึงต้องใช้พนักงานภูษามาลาเชิญรัฐธรรมนูญ และมีงานฉลองรัฐธรรมนูญทุกปีตลอดช่วงเวลาที่คณะราษฎรมีอำนาจ มีการจัดพลับพลาที่สนามหลวง
ดังรูป


ภาพที่ 3: พลับพลารัฐธรรมนูญ

สัญลักษณ์นี้ยังถูกถ่ายแบบไปอีก 70 จังหวัด และคล้ายถูกยกมาแทนที่สถาบันด้วย อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันความหมายของพานรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นอย่างคณะราษฎรเคยใช้มาแต่เดิม


ภาพที่
4 : อนุสาวรีย์ปราบกบฎ หรืออนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญ

ที่ปัจจุบันเพียงเรียกชื่อตามแหล่งที่ตั้งว่า อนุสาวรีย์หลักสี่

อนุสาวรีย์ปราบกบฏ สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงคราวเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดช พ.ศ. 2476 ก็ใช้พานรัฐธรรมนูญเป็นสัญลักษณ์ แต่ชื่อปัจจุบันคืออนุสาวรีย์หลักสี่และกลายเป็นอนุสาวรีย์ที่เหงาสุดในกรุงเทพฯ เนื่องจากบริบททางสังคมที่ทำให้ถูกลืมจึงไม่บอกนัยยะอะไร
ชื่อก็กลายเป็นเพียงการบอกสถานที่


ภาพที่ 5 : วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน

ในพื้นที่เดียวกัน ได้สร้างวัดพระศรีมหาธาตุ อีกแห่ง ในยุคคณะราษฎร เดิมทีวัดดังกล่าวจะตั้งชื่อว่า วัดประชาธิปไตย และวัดนี้เป็นวัดมหาธาตุแห่งที่ 2 ของกรุงเทพ ในขณะที่ตามเมืองต่างๆ จะมีวัดมหาธาตุแค่วัดเดียวเท่านั้น ปัจจุบันวัดนี้รู้จักกันในชื่อที่เรียกแค่ว่า วัดพระศรี หรือเป็นวัดที่เอาไว้เผาศพทหาร สุดท้ายกลายเป็นวัดเฉพาะในกลุ่มคณะราษฎร เช่น ที่เก็บกระดูกของบรรดาคณะราษฎร ทั้งนี้ ในช่วงหลัง พ.ศ. 2475 พื้นที่ทุ่งบางเขนจากเดิมที่เคยเป็นทุ่ง รอบๆ พื้นที่นี้คล้ายถูกโปรโมทให้สำคัญขึ้น เช่น การสร้างถนนพหลโยธินที่มาจากชื่อของพระยาพหลพลพยุหเสนา

สยามใหม่ - ไทยใหม่

คำว่าสยามใหม่ในที่นี้ไม่ได้เป็นความหมายที่ใช้ทั่วไปในทางวิชาการที่กำหนดให้สยามใหม่ คือช่วงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา แต่หมายถึงสยามหลังจาก พ.ศ. 2475

พ.ศ. 2475 คล้ายเป็นเส้นแบ่งทั้งทางประวัติศาสตร์ ทางศิลปะและสถาปัตยกรรม หรือทางวัฒนธรรมซึ่งมีส่วนเสริมคณะราษฎรในแง่การเมืองการทหาร

ภาพที่ 6 : อาคารชั่วคราวกรมศิลปากรในงานฉลองรัฐธรรมนูญ

อาคารชั่วคราวของกรมศิลปากร ในงานฉลองรัฐธรรมนูญจะเห็นว่าที่ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ถือว่าตัดขาดจากสถาปัตยกรรมแบบจารีตประเพณี

ภาพที่ 7 : การใช้สถาปัตยกรรมที่ไม่มีหลังคาจั่วแบบคณะราษฎรเป็นฉาก

สังเกตว่าอาคารสมัยคณะราษฎรมีการใช้สถาปัตยกรรมเป็นฉาก ซึ่งเป็นอาคารที่มักไม่มีหลังคาจั่วแต่เป็นหลังคาตัด มีเรื่องเล่ากันว่า สมัยนั้นเคยมีคนแก่เดินมาที่ถนนราชดำเนินเห็นอาคารแบบนี้ก็ถามว่าทำไมสร้างไม่เสร็จเสียที เพราะมันไม่มีหลังคาจั่วแบบประเพณีจึงดูเหมือนสร้างยังไม่เสร็จตลอดเวลา และนี่คือความใหม่ในยุคดังกล่าว

ภาพที่ : 8 โรงแรมสุริยานนท์ วันเปิดจะเห็นว่าสีของโรงแรมเป็นสีดำ

แต่ตอนนี้ทาเป็นสีเหลืองเพราะผู้บูรณะอาคารบอกว่าขูดอาคารดูสีเก่าแล้วพบว่าเจอสีเหลือง

ภาพที่ 9 : งานฉลองรัฐธรรมนูญ ซึ่งจัดทุกปีในช่วงคณะราษฎรยังมีอำนาจ

งานฉลองรัฐธรรมนูญู จัดซุ้มออกงานด้วยการสร้างอาคารที่จริงจังเพื่อสะท้อนอุดมการณ์บางประการ ซึ่งไม่เหมือนการออกซุ้มงาน เช่น งานกาชาดในปัจจุบัน ที่ทำอย่างไรก็ได้ให้ค่าซุ้มใช้ราคาถูกที่สุด สิ่งสำคัญในยุคนั้นคือพานรัฐธรรมนูญและหลัก 6 ประการ บนสถาปัตยกรรมจึงต้องมีภาพพานรัฐธรรมนูญ และสิ่งแสดงถึงหลัก 6 ประการ ซึ่งแสดงออกมาง่ายๆ เมื่อนับตัวเลขเป็น 6 เช่น อาคารมีเสา 6 ต้น การประดับธง 6 ผืน หรือเจดีย์วัดพระศรี ที่บัวกลุ่มมี 6 ชั้นหรือเป็นเลขคู่ ในขณะที่การทำบัวกลุ่มของเจดีย์ตามประเพณีเป็นเรื่องที่รู้กันว่าต้องเป็นเลขคี่เพื่อให้เป็นมงคล

ภาพที่ 10 : สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎรที่ต้องมีภาพพานรัฐธรรมนูญ และเสา 6 ต้น

สำหรับลักษณะทางศิลปกรรมยุคคณะราษฎร ก็คืองานสะท้อนหลัก 6 ประการและพานรัฐธรรมนูญ เช่น งานศิลปะที่ชื่อเลี้ยงช้างน้อยด้วยอ้อยหก เป็นประติมากรรมรูปช้างม้วนอ้อย 6 อัน ช้างก็เหมือนสัญลักษณ์แทนประเทศไทยที่จะเติบโตขึ้นด้วยหลัก 6 ประการ เป็นต้น

ศิลปกรรมยุคนี้ยังเน้นการทำเป็นรูปคนที่แสดงสัดส่วนชัดเจนและเหมือนนักกล้ามเปลือย ผู้นำคนสำคัญทางศิลปะในยุคนั้นคือ ศิลป์ พีระศรี มีคำอธิบายในประเด็นนี้การทำลักษณะทางศิลปะแบบนี้คือ การแสดงออกทางศิลปะที่เหมือนกับศิลปกรรมที่นิยมในเยอรมนีและอิตาลีที่มีความสัมพันธ์กันกับไทยในเวลานั้น และยังคล้ายกับการด่างานแบบอุดมคติในงานจิตรกรรมไทยที่ดูอ้อนแอ้นอ่อนแอสัมพันธ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังการปาฐกถาของหลวงวิจิตรวาทการในเรื่องมนุษย์ปฏิวัติที่ว่า

ภาพที่11 : บทความสะท้อนแนวคิดมนุษย์นิยมที่ปฏิเสธความงามทางศิลปะแบบเจ้า

ที่สรรเสริญผู้ที่มักได้ดีโดยไม่ต้องทำอะไร

ภาพที่ 12 : ลักษณะงานศิลปะยุคคณะราษฎรที่มักทำรูปคนเปลือยดูแข็งแรง มีกล้ามเนื้อสัดส่วนชัดเจน

ภาพที่ 13 : มนุษย์นิยมแบบคณะราษฎร

แม้แต่ผู้หญิงก็ต้องดูสมบูรณ์อวบอิ่ม เป็นพลเมืองในยุคไทยใหม่

ภาพที่ 14 : แม้แต่ครุฑ ในสมัยคณะราษฎรก็ต้องดูแข็งแรง มีกล้ามท้อง

ภาพที่ 15 : ในระดับรายละเอียดก็รณรงค์จนยุ่มย่ามในชีวิตด้วย เช่น
การให้กินกับข้าวมากๆ
ตรงนี้เป็นการปฏิวัติทางวัฒนธรรมด้วย

กลับสู่สยามเก่า ไทยเก่า

ช่วง พ.ศ. 2475 -2490 คือสยามใหม่ ไทยใหม่ แต่พอหลังจาก พ.ศ. 2490 ทุกอย่างก็กลับคืนสู่ช่วงก่อนเวลา พ.ศ. 2475 หมด

ภาพที่ 16 : ชาติในจินตนาการ

จากการได้ฟังเรื่อง ชาติในจินตนาการของ รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ (นักวิชาการคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ที่เคยไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ทำให้เห็นประเด็นว่าแม้ว่าหลวงวิจิตรวาทการจะเคยเป็นมันสมองที่สำคัญของคณะราษฎรก็ตาม แต่ก็ยังทำงานสืบเนื่องต่อมาในยุคนี้ซึ่งสะท้อนออกมาในแนวทางที่อนุรักษ์นิยมมาก เช่น ในทางประวัติศาสตร์ก็ทำเพียงการเพิ่มพล็อตต่อจากประวัติศาสตร์ชาติไทยของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ว่าคนไทยมาจากเขาอัลไต ลงมาน่านเจ้า เป็นไทยใหญ่ ไทยน้อย เพียงแต่ผูกโยงไปที่อีสานและเวียดนามเพิ่มขึ้น เพื่อเดินตามไปนโยบายมหาอาณาจักรที่ต้องการจะขยายออกดินแดนไป

อย่างไรก็ตาม มันยังอยู่ในร่มประวัติศาสตร์แบบเดิม ซึ่งแม้ชาติในจินตนาการเชิงสัญลักษณ์จะถูกตัดขาดไปในช่วงคณะราษฎร แต่ความเป็นไทยในทางประวัติศาสตร์ไม่เคยตัดขาดและต่อเนื่องมาจนหลัง พ.ศ. 2490 สัญลักษณ์ในยุคคณะราษฎรจึงถูกชิงความหมายไปอย่างรวดเร็วหลัง พ.ศ. 2490

ภาพที่ 17 : ชาติในจินตนาการทางขอบเขตและประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ไม่เคยถูกตัดขาดและต่อเนื่องไปจนหลัง พ.ศ.2490

ภาพที่ 18 : สัญลักษณ์ที่ถูกช่วงชิงผ่านงานศิลปะอนุสาวรีย์พระบิดาด้านต่างๆ ที่สร้างขึ้นมากมาย

หลัง พ.ศ.
2490 โดยคนสำคัญกลุ่มเดิมที่ทำงานสืบเนื่องต่อจากสมัยคณะราษฎร

หลัง พ.ศ. 2490 งานศิลปะจึงกลายป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาก มีการสร้างอนุสาวรีย์พระบิดาด้านต่างๆ โดยใช้คนกลุ่มเดิมซึ่งก็คือ ศิลป์ พีระศรี และหลวงวิจิตรวาทการ เป็นผู้สืบสร้างงานศิลปะและสัญลักษณ์ ในขณะเดียวกันจากเดิมที่หลวงวิจิตรวาทการเคยบอกว่าศิลปะแบบตามประเพณี อ้อนแอ้น ไม่สวยงาม ในยุคนี้เมื่อมีการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ งานลักษณะอ้อนแอ้นที่กลับสู่แบบประเพณีดังกล่าวกลับได้รับรางวัลเหรียญทอง

ภาพที่ 19 : งานศิลปะที่ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ

นอกจากนี้ สถาปัตยกรรมอาคารสาธารณะแบบคณะราษฎรยังเริ่มถูกรื้อออกไป เช่น โรงภาพยนต์เฉลิมไทย โดยตอนรื้อ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมทมีข้อเขียนที่ให้เหตุผลว่า

ภาพที่ 20 : ข้อเขียนหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมท แกนหลักคนสำคัญฝ่ายอนุรักษ์นิยมหลัง พ.ศ.2490 ที่มีส่วนสำคัญในการรื้อสัญลักษณ์ของศิลปะคณะราษฎร
โดยมองว่าต่ำทราม และไม่กลมกลืนกับสถาปัตยกรรมในกรุงเทพฯ


ภาพที่ 21 : โรงภาพยนต์เฉลิมไทย

ทั้งนี้ คำว่า กรุงเทพฯ ในความหมายของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ตามที่กล่าวได้หมายถึง วัดและ วัง เท่านั้น จากข้อเขียนนี้ ในทางอนุรักษ์ก็ยึดเอาเป็น คึกฤทธิ์ชาเตอร์ เพื่อใช้ประเมินคุณค่าศิลปกรรมทางประวัติศาสตร์ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์จึงมีความสำคัญและสร้างเรื่องราวที่เสริมศิลปวัฒนธรรมแบบสยามเก่าอย่างสูงมาก

ภาพที่ 22 : เมรุถาวรแบบคณะราษฎรแห่งแรกที่วัดไตรมิตรฯ เป็นต้นแบบของเมรุในปัจจุบัน ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อสะท้อนแนวทางหลัก 6 ประการ

หากไม่นับเมรุชั่วคราวหลังปราบกบฎบวรเดช เมรุถาวรแห่งแรกสร้างไว้ที่วัดไตรมิตร ปัจจุบันรื้อออกแล้ว การสร้างเป็นเมรุถาวรแบบนี้คือการสะท้อนการคำนึงถึงสุขลักษณะตามหลัก 6 ประการ และเมรุนี้เป็นต้นแบบของเมรุที่เห็นในปัจจุบัน

หลัง พ.ศ. 2490 แม้จะเป็นช่วงเวลาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยุคที่ 2 แต่ถึงเป็นบุคคลเดียวกันจะเห็นว่าตึกอาคารมีลักษณะประนีประนอมจนเกิดเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยๆ ขึ้น คือ เริ่มนำจั่วแบบไทยเดิมมาผสมกับสถาปัตยกรรมที่ลดทอนรายละเอียดองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอย่างช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ลง อาจเพราะยังถือว่ามีอิทธิพลของยุคประชาธิปไตยจึงยังไม่กลับไปเป็นแบบวัดเต็มที่ตามลักษณะสถาปัตยกรรมของเจ้า แต่ก็มีหลังคาจั่ว

ภาพที่ 23 : สถาปัตยกรรม หลัง พ.ศ. 2490 แม้จอมพล ป. พิบูลสงคราม จะกลับมาคุมอำนาจอีกครั้ง แต่อาคารเริ่มกลับมามีหลังคาจั่วแบบไทยประเพณี


ยุคปัจจุบัน

จากการศึกษาเฉพาะกรณีสัญลักษณ์บนถนนราชดำเนิน พบว่าสามารถสะท้อนความหมายออกมา 4 แบบ คือ

1. ความหมายในแบบคณะราษฎรที่หมดความหมายไปในปัจจุบัน

2. ความหมายหลัง 14 ตุลา 2516

ความหมายเดิมของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นเพียงชื่อที่ใช้ในยุคคณะราษฎรแต่ถูกแปลงให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา อนุสาวรีย์ถูกใช้แสดงความหมายทางประชาธิปไตยเรื่อยมา


ภาพที่ 24 : อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บนถนนราชดำเนิน วันที่ 14 ตุลาคม 2516

อย่างไรก็ตาม ในภายหลัง 14 ตุลา ก็ได้ถูกเบี้ยวความหมายไปเช่นกัน เช่น การสร้างอนุสาวรีย์ 14 ตุลา บนถนนราชดำเนิน ที่ทำเป็นลักษณะสถูป เรียบง่าย คล้ายกับการระลึกถึงผู้ตายเหมือนให้มันปลงๆ ลืมๆ ไปเสียตามลักษณะแบบไทยๆ ซึ่งส่วนตัวมองว่ามันไม่สื่อความหมายของ 14 ตุลา อาจจะด้วยการใช้เวลาที่ยาวนานมากกว่าจะได้สร้างอนุสาวรีย์ดังกล่าวเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา จึงมีการต่อรองมากมายจนทำให้อนุสาวรีย์ที่สร้างไม่สื่อความหมายเกี่ยวกับจิตวิญญาณของนักศึกษาที่ลุกฮือ อนุสาวรีย์นี้ควรสามารถสื่อความหมายที่ระลึกถึงจิตวิญญาณของ 14 ตุลา ว่าต้องแลกมากับอะไร แม้แต่การใช้วัสดุ อย่างหิน หรือดิน มันก็สะท้อนนัยยะ แต่อนุสาวรีย์นี้กลับใช้แกรนิตที่มันวาวเป็นแบบห้างที่ไม่น่านำมาใช้สร้างอนุสรณ์สถาน นัยยะได้ถูกแปลงจนดูไม่มีพลัง การเอาโปสเตอร์ภาพเหตุการณ์ไปติดยังดูมีพลังมากกว่า อนุสาวรีย์ควรออกแบบที่สะท้อนภาพ 14 ตุลา ออกมาให้ได้อย่างในภาพข้างล่าง แต่มันได้ถูกบิดเบี้ยวไปด้วยอะไรบางอย่าง

ภาพที่ 25 : ภาพเหตุการณ์ 14 ตุลา ที่ต้องสื่อความหมายออกมาให้ได้

ภาพที่ 26 : อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ที่ชวนปลงๆ ลืมๆ แบบไทยๆ ?

3. ความหมายทางความทรงจำแบบพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เพิ่มพูนอย่างไม่เป็นทางการหลัง พ.ศ. 2490

หลังเหตุการณ์ พฤษภาคม 2535 ความหมายนี้ถูกสะท้อนออกมามาก เช่น การสร้างซุ้มเทิดพระเกียรติบนถนนราชดำเนินเป็นครั้งที่ 2 หลังจากสร้างครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 กลับจากประพาสยุโรป โดยครั้งนั้นสร้างเพื่อฉลองราชพิธีกาญจนาภิเษก

ข้อสังเกตสำคัญคือการใช้คติแก้ว 7 ประการ ในซุ้มกาญจนาภิเษก 7 ซุ้ม ตามคติจักรพรรดิราช อันเป็นแบบไทยประเพณีโบราณที่ย้อนกลับไปมาก เพราะแม้แต่สมัยรัชกาลที่ 4 หรือรัชกาลที่ 5 ก็ไม่ใช้คตินี้แล้ว ซึ่งซุ้ม 60 ปีในปัจจุบันก็ใช้คติดังกล่าว

ภาพที่ 27 : ซุ้มกาญจนาภิเษก ใช้คติแก้ว 7 ประการ ตามคติจักรพรรดิราชแบบโบราณกว่าสมัยรัชกาลที่ 4

ภาพที่ 28 : ซุ้มเฉลิมพระเกียรติ 60 ปี ที่สร้างตามคติแก้ว 7 ประการ

ภาพที่ 29 : สัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดผ่านแสงไฟกลางคืน

ภาพที่ 30 : การผนวกความทรงจำสมัยรัชกาลที่ 5 กับปัจจุบัน
ภาพถ่ายกลางคืนแสดงอำนาจที่สะท้อนผ่านความทรงจำสาธารณะ


4. ความหมายของอำนาจรัฐบนพื้นที่

ความหมายนี้สะท้อนผ่านแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และแผนแม่บทกรุงเทพฯ ที่เน้นการโชว์แต่วัดกับวัง การย้ายส่วนราชการออกไป และการเปิดพื้นที่สีเขียวให้เป็นที่สาธารณะ ตัวอย่างเช่น การสร้างพื้นที่สาธารณะอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 3 โดยรื้อโรงภาพยนต์เฉลิมไทยออกไป แต่พื้นที่สาธารณะดังกล่าวกลับใช้เป็นพื้นที่สาธารณะจริงไม่ได้เพราะมันร้อนมาก ส่วนที่ไม่ร้อนก็มีแต่ห้ามเข้าไปใช้ซึ่งการเข้าถึงที่สาธารณะได้มากหรือน้อยสะท้อนจากตรงนี้

ภาพที่ 31 : กรุงเทพฯตามแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์

ภาพที่ 32 : ลานอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 3 ที่สาธารณะซึ่งร้อนมาก

ภาพที่ 33 : สถานที่ไม่ร้อนในที่สาธารณะอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 3 แต่ห้ามขึ้น

ภาพที่ 34 : ถนนราชดำเนินที่รัฐต้องการให้เป็น

สิ่งที่รัฐต้องการให้ถนนราชดำเนินเป็นคือ บรรยากาศที่ดูสวยๆ ไม่มีพลัง ตึกอาคารถูกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ขณะเดียวกันรัฐก็ได้ใช้ประเด็นพระราชอำนาจมาเป็นเหตุผลในการเคลียร์พื้นที่ให้เป็นไปตามแผนแม่บทฯของรัฐ

อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วมีกรณีตัวอย่างที่สะท้อนว่า สิ่งที่คณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์คิดจัดทำให้เป็นไปตามแผนแม่บทฯ ด้วยการย้ายสถานที่ราชออกไปและเพิ่มพื้นที่สีเขียวนั้นมันผิด ซึ่งกรณีตัวอย่างที่สำคัญคือ เกิดการสร้างทำเนียบองคมนตรีได้บนพื้นที่ตรงข้ามวัดพระแก้ว

ภาพที่ 35 : ทำเนียบองคมนตรี ตรงข้ามวัดพระแก้ว

หรืออีกกรณีหนึ่งคือการวางแผนรื้อตึกอาคารศาลฎีกาที่สร้างโดยคณะราษฎรแล้วตามมาด้วยการสร้างใหม่ โดยให้เป็นอาคาราชการเหมือนเดิมแต่มีหลังคาจั่ว สิ่งเหล่านี้จึงแสดงว่าสิ่งที่คณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์ต้องการรื้อเพื่อสร้างพื้นที่ที่สาธารณะนั้นมันล้มเหลว

ภาพที่ 36 : ศาลฎีกา ที่ต้องรื้อสร้างใหม่

ภาพที่ 37 : สิ่งปลูกสร้างที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่เพื่อเป็นอาคาราชการเช่นเดิม